สถิติ
เปิดเว็บ | 25/05/2011 |
อัพเดท | 22/04/2017 |
ผู้เข้าชม | 3,781,831 |
เปิดเพจ | 5,083,228 |
สินค้าทั้งหมด | 127 |
บริการ
-
หน้าหลัก
-
รวมพระทุกหมวด
-
พระศึกษาและสะสม
-
พระสมเด็จวัดระฆัง
-
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
-
พระสมเด็จวัดเกศไชโย
-
พระซุ้มกอ
-
พระรอด
-
พระนางพญา
-
พระผงสุพรรณ
-
พระกรุเนื้อดิน-ผง-ว่าน
-
พระกรุเนื้อชิน
-
รายการวัตถุมงคล
-
พระกรุ พระเครื่อง โบราณ
-
วัตถุมงคลรุ่นแรก เก่าหายาก
-
วัตถุมงคล ออกใหม่
-
ตารางกิจนิมนต์
-
กำหนดการณ์ งานพิธีวัดไทรย้อย
-
โครงการต่างๆ ของวัด
-
แกลลอรี่รูปภาพ
-
เว็บบอร์ด
-
ติดต่อเรา
พระร่วงรางปืน หลังกาบหมาก สุโขทัย
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
S-236
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
22/02/2014 10:30
-
ความนิยม
-
รายละเอียดสินค้า
พระร่วงหลังรางปืน จักรพรรดิแห่งพระเครื่องเนื้อชินพระร่วงหลังรางปืน อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย จักรพรรดิพระเครื่องเนื้อชิน
จักรพรรดิแห่งพระเครื่องเนื้อชิน ก็ต้องยกย่องให้แก่"พระร่วงหลังรางปืน" ซึ่งเป็นพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงที่หาได้ยากยิ่ง เนื่องจากจำนวนพระที่พบน้อยมากและพระที่พบจำนวนน้อยนั้นยังมีพระที่ชำรุดอีก ด้วย พระร่วงหลังรางปืนมีเอกลักษณ์ที่ด้านหลังเป็นร่องรางจึงเป็นที่มาของชื่อพระว่า พระร่วงรางปืนในเวลาต่อมา
พระร่วงหลังรางปืน เป็นพระที่ถูกลักลอบขุดจากบริเวณพระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ เมืองเก่าชะเลียง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย แต่เดิมพระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุเป็นสถาปัตยกรรมสกุลช่างลพบุรี สร้างขึ้นเป็นพุทธาวาสโดยตรง ได้รับการปฏิสังขรณ์และแก้ไขดัดแปลงหลายครั้งหลายครา ทั้งในสมัยสุโขทัยและอยุธยา ต่อมาได้รับการขุดโดยกรมศิลปากรครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2497
การค้นพบพระร่วงรางปืน
พระร่วงหลังรางปืนได้ถูกคนร้ายลักลอบขุดในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2499 เวลาประมาณตี 3 คณะของคนร้ายมี 4 คน ลักลอบขุดเจาะฐานพระพุทธรูปในพระวิหารด้านทิศตะวันตกขององค์พระปรางค์ และได้งัดเอาศิลาแลงออกไปประมาณ 8 ก้อน พบไหโบราณ 1 ใบ อยู่ในโพรงดินปนทรายลักษณะคล้ายหม้อทะนน หรือกระโถนเคลือบสีขาว สูงประมาณ 16 นิ้วเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 นิ้ว ภายในบรรจุพระพุทธรูปสกุลช่างลพบุรี 5 องค์ คือพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรทรงเทริด เนื้อสำริด สูง 10 นิ้ว 1 องค์ พระพุทธรูปปางนาคปรก เนื้อสำริด หน้าตักกว้าง 3-4 นิ้ว 2 องค์ พระพุทธรูปนั่งในซุ้มเรือนแก้ว หน้าตักกว้าง 3-4 นิ้ว 2 องค์ และ พระร่วงรางปืน ประมาณ 240 องค์ ไหโบราณและพระพุทธรูปทั้งหมดต่อมาได้นำมาขายที่แถวๆ เวิ้งนครเกษม พระร่วงรางปืน ที่ได้ในครั้งนี้เป็นพระร่วงหลังรางปืนที่ชำรุดเสียประมาณ 50 องค์ ที่เหลืออยู่ก็ชำรุดเล็กน้อยตามขอบๆ ขององค์พระ พระที่สวยสมบูรณ์จริงๆ นับได้คงไม่เกิน 20 องค์พระร่วงของกรุนี้เป็นพระเนื้อชินสนิมแดง
ที่ด้านหลังพระร่วงกรุนี้ส่วนใหญ่จะเป็นร่องราง
เลยเป็นที่มาของชื่อ"พระร่วงหลังรางปืน"
และมีบางองค์ที่เป็นแบบหลังตันแต่พบน้อย
และที่ด้านหลังของพระจะเป็นรอยเส้นเสี้ยน
หรือลายกาบหมากทุกองค์
ในตอนนั้นพวกที่ลักลอบขุดเจาะได้แบ่ง พระร่วงรางปืนกันไปตามส่วน และนำพระร่วงรางปืนออกมาจำหน่าย เมื่อมีข่าวแพร่สะพัดออกไปก็มีคนจากกรุงเทพฯ เดินทางไปเช่าหากันจนราคาพระสูงขึ้นเป็นอันมาก และพระก็ได้หมดไปในที่สุด พระร่วงรางปืน ที่พบของกรุนี้ในปัจจุบันได้แบ่งแยกออกเป็น พระร่วงหลังรางปืนพิมพ์ฐานสูงและพิมพ์ฐาน ต่ำ ข้อแตกต่างก็คือที่ฐานขององค์พระจะสูงและบางต่างกัน นอกนั้นรายละเอียดจะเหมือนๆ กัน ลักษณะร่องรางของด้านหลังก็ยังแบ่งออกได้เป็นแบบร่องรางแคบและแบบร่อง รางกว้าง ที่สำคัญพระร่วงหลังรางปืนจะปรากฏรอยเสี้ยนทั้งสองแบบ
เนื้อและสนิมของพระร่วงหลังรางปืน จะเป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดง วรรณะของสนิมออกแดงแกมม่วงสลับไขขาว สีของสนิมแดงในพระของแท้จะมีสีไม่เสมอกันทั้งองค์ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จะมีสีอ่อนแก่สลับกันไป ส่วน"พระร่วงหลังรางปืน"ของเทียมมักจะมีสีเสมอกันทั้งองค์ ในองค์แท้นั้นพื้นผิวสนิมมักจะแตกระแหงเป็นเส้นเล็กๆ คล้ายใยแมงมุม การแตกของสนิมมักแตกไปในทิศทางต่างๆ กันสลับซับซ้อน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสนิมแดงของแท้ที่ขึ้นเต็มเป็นปื้นมักจะเป็นเช่นนี้
วันนี้ก็ได้นำพระร่วงหลังรางปืน มาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ สังเกตและจดจำรายละเอียดกันดูนะครับว่าพระแท้ พระร่วงรางปืน นั้นเป็นอย่างไร ต่อไปท่านอาจจะได้พบเจอพระแท้ และอาจจะได้ครอบครอง"พระร่วงหลังรางปืน" พระแท้ๆ ก็เป็นได้นะครับ
ด้วยความจริงใจ แทน ท่าพระจันทร์ ที่มา...******************************
บทความของ ดร.แสวง รวยสูงเนินครับ
บทวิพากษ์จากสนามพระเครื่อง “พระร่วงยืน หลังรางปืน”
มีแค่ ๒๐๐ องค์จริงหรือ???????
พระร่วงรางปืนเหล่านั้น (ถ้าแท้) จะมาจากไหน ก็เขาว่ามีแค่ ไม่เกิน ๓๐ องค์ ที่สมบูรณ์ไม่เกิน ๕ องค์ ผมเข้ามาในวงการพระเครื่อง ทั้งโดยบังเอิญ และตั้งใจ เพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยที่คลุมเคลือ ตั้งแต่ยุคสุโขทัยขี้นไป ผมจึงเน้นศึกษาพระกรุ ตั้งแต่ยุคทวาราวดีลงมาถึงสุโขทัย มีอยุธยาบ้างก็บางองค์ ก่อนหน้านี้ผมได้พยายามศึกษาประวัติศาสตร์ผ่านเหรียญกษาปณ์จนได้เหรียญและเงินโบราณแบบแท้ๆ มาเต็มตู้ (แต่ก็มีเก๊ปนมาบ้างในช่วงแรกๆ ที่ส่วนใหญ่มาจากแผงพระ) และผมคิดว่า • ผมอาจจะบังเอิญโชคดีที่พบคนที่บริสุทธิ์ใจกับผม • หรือทั้งวงการเหรียญกษาปณ์เขาเป็นกันอย่างนี้ส่วนใหญ่ ไม่คิดจะหากินแบบหลอกลวงต้มตุ๋นคนที่ไม่รู้ด้วยความรู้ของตัวเองที่เหนือกว่า • นอกจากนี้ผู้ขายเหรียญโบราณเขายังรับประกันการซื้อคืนอย่างน้อยด้วยเงินเท่าเดิม แบบไม่หักส่วนลดใดๆ • ทำให้ผมสบายใจที่จะเก็บเงินโบราณเหล่านั้นไว้เป็นทรัพย์สินถึงลูกถึงหลาน ได้แบบมูลค่าไม่ลดลง แต่เมื่อผมเข้ามาในวงการพระเครื่อง ผมกลับเจอ “วิชามาร” ทุกรูปแบบ ที่พยายามทุกวิถีทางที่จะเอาเปรียบคนไม่รู้ หรือรู้น้อยกว่า ตั้งแต่ • ขายพระโรงงาน (พระเก๊) ในราคาพระแท้ ทั้งที่บอกว่า “ให้เช่า” ไม่ได้ “ขาย” คือ ซื้อแล้วคืนไม่ได้ • สวดพระแท้ให้เป็นพระเก๊ เพื่อจะได้ซื้อหรือเหมาในราคาถูก (จึงไม่สามารถเก็บพระกรุ ไว้เป็นมรดกกับลูกหลานที่ยังไม่รู้ได้) • ปิดบังข้อมูล และความจริงที่ควรให้ผู้อื่นที่ต้องการศึกษา เพื่อแยกแยะว่าพระแท้ และพระโรงงานมีลักษณะต่างกันอย่างไร • อย่างมากก็มีแต่บอกว่า “ชอบ” “ไม่ชอบ” โดยไม่พยายามอธิบายว่า "ทำไม" • และมักใช้ความเคยชิน (รวมทั้งวิชามาร) ของตนเองตัดสินพระแท้ พระเก๊ มากกว่าจะมีหลักการวิชาการของพัฒนาการของมวลสารและวัสดุสนับสนุน • ไม่ปรามการทำพระโรงงาน พร้อมใบประกาศรับรองเก๊ๆ ที่พยายามสร้างเลียนแบบพระแท้ ไว้หลอก "หมูสนาม" ที่น่าจะทำให้สถาบัน/สมาคม เสียชื่อเสียงไปด้วย ทำให้คนที่เข้ามาใหม่ต้องกลายเป็นเหยื่อ และถ้าใครไม่พัฒนาตัวเอง ไต่ระดับหนีความเป็นเหยื่ออย่างรวดเร็ว ก็จะกลายเป็น “หมูสนาม” ตลอดกาล วงการนี้ไม่ปรานีผู้ด้อยความรู้และอ่อนแอทางความคิด มีแต่เก็บพระเก๊เต็มบ้าน ดังที่ผมเคยสรุปบทเรียนไว้แล้วว่า คนที่เข้าไปในตลาดพระมีอย่างน้อย ๖ ระดับ • และ มักให้ข้อมูลที่ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่จริงแค่ไหนว่า แบบเล่าต่อๆกันมา ว่า พระองค์ไหนมีอยู่เท่าไหร่ เช่นทั้งกรุ มี ๕ องค์บ้าง ๑๐ องค์บ้าง ไม่เกิน ๑๐๐ องค์บ้าง • เพื่อจะทำให้ดูว่าเป็นของหายากและราคาแพง เป็นหลักล้าน หรือสิบล้านขึ้นไป โดยเฉพาะกรณี พระร่วงรางปืน (ศิลปะลพบุรี) นั้น มีการให้ข้อมูลว่ามีอยู่ไหเดียว สมบูรณ์จริงๆ ไม่เกิน ๕ องค์ ปัจจุบันอยู่ในมือเศรษฐี และเซียนพระระดับประเทศหมดแล้ว แรกๆ ที่ผมเคยรับข้อมูลเหล่านี้เข้ามา ทำให้รู้สึกว่า ผมน่าจะไม่มีโอกาสได้เห็นหรือครอบครองแน่นอน จึงไม่คิดหวัง แต่ก็อาราธนาไว้ในใจตลอดเวลา เห็นที่ไหนก็พยายามศึกษา พยายามดู พยายามส่อง ก่อนที่จะได้เห็นพระร่วงรางปืนองค์จริง • ผมได้พยายามศึกษาลักษณะของพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง องค์อื่นๆ ที่เขาว่ากันว่าแท้ๆ ต้องเป็นอย่างนี้ • จนได้หลักการพิจารณาตามที่ผมบันทึกสรุปบทเรียนไว้แล้วว่า • ต้องมีไขฉ่ำ • มีสนิมหลายชั้น • แต่ละชั้นจะเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง • ที่พระโรงงานทำได้ยังไม่เหมือน • แล้วจึงค่อยๆนำหลักการดังกล่าวมาทดสอบกับพระแท้ที่ราคาไม่แพง • จนไต่ระดับไปหาพระแท้ราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ • จนมั่นใจว่าหลักเกณฑ์ที่ใช้นั้น แบ่งแยกพระโรงงานและพระกรุออกจากกันได้เกิน ๙๐ % ขึ้นไป บางองค์ก็มั่นใจเกิน ๙๙% หลักการดังกล่าว ผมนำมาใช้พิจารณาการเหมาซื้อพระตามบ้าน หลายบ้าน ที่แต่ละบ้านเจ้าของเก่าตายไปแล้ว แต่มีพระกรุรังใหญ่ๆ เก็บไว้ให้ลูกหลานเป็นร้อย เป็นพันๆองค์ ในการไปเหมาพระ ผมต้องมีการจัดการคัดแยก แท้-เก๊ อย่างรวดเร็ว ที่มีจะต้องมีโอกาสพลาดไม่ให้เกิน ๕% ทำให้ผมได้พระกรุพิมพ์ต่างๆ มาหลายพันองค์ ที่ได้มากที่สุดก็คือ พระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ทุกประเภท นอกจากนั้น ก็ชินต่างๆ ชินเงิน และเนื้อดิน และแน่นอน ส่วนหนึ่งเป็นพระร่วงยืน พระร่วงนั่ง หลังร่อง หลังลายผ้า ศิลปะลพบุรี และสุดท้าย ผมก็พบพระร่วง หลังรางปืน ที่เป็นพระศิลปะลพบุรี เนื้อและพิมพ์ต่างๆ ที่กล่าวกันว่า “แตกกรุมาจากสุโขทัย” ขณะที่ผมคัดแยกพระนั้น ผมก็สงสัยไป ว่า ความรู้ที่ผมมีนั้นใช้ได้จริงหรือไม่ ผมพยายามวิพากษ์กับคนที่เปิดใจคุยกันได้หลายคน ก็สรุปว่า ความรู้ที่ผมสรุปและบันทึกไว้นั้น น่าจะใช้ได้ และน่าเชื่อได้ว่า ผมได้พระแท้ๆมาครอบครองแล้ว แต่.... เมื่อผมลองทดสอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยนำไปให้ร้านพระเครื่องดูที่ ตลาดพันทิพย์ งามวงษ์วาน ก็มีแต่ตีเก๊อย่างเดียว คุยอะไร ถามอะไรก็ไม่บอก ผมเสียเวลาเปล่าๆ เดินเกือบทุกร้านถึง ๒ วัน แบบไม่ได้ความรู้อะไรเลย เพื่อนฝูงบอกภายหลังว่า เขาตีเก๊เพราะเขาจะซื้อราคาถูก จึงอธิบายไม่ได้ ผมเลยไม่คิดจะไปเรียนที่นั่น หรือที่อื่นๆ ในประเภทเดียวกันอีกต่อไป จึงมาถึงประเด็นว่า พระร่วงรางปืนเหล่านั้น (ถ้าแท้) จะมาจากไหน ก็......... ทั้งเขตจังหวัดสุโขทัยปัจจุบัน ที่เคยเป็นเมืองโบราณมาหลายร้อยปี มีเมืองเล็กเมืองน้อยเป็นบริวารมากมาย มีวัดโบราณเก่าๆเป็นร้อย มีกรุไม่รู้เท่าไหร่น่าจะเป็นหลายร้อย แต่..... พบว่ามีพระร่วงหลังรางปืนอยู่เพียงไหเดียว ประมาณ ๒๐๐ องค์ พอดูได้ไม่เกิน ๓๐ องค์ ที่สมบูรณ์ไม่เกิน ๕ องค์ และอยู่ในมือคนมีเงินหมดแล้ว ราคาว่ากันหลักล้าน จึงมาถึงจุดใหญ่ใจความ แล้วที่ผมจำแนก • • ตามเกณฑ์การพัฒนาการของสนิมแดง ไข และเส้นใยแมงมุม • มันผิดพลาดตรงไหน • หรือว่าเขาทำเก๊ ได้แล้วจริงๆ เท่าที่สืบทราบมา • ผิวสนิมแดง อาจทำได้ โดยใช้สีทา • แต่ก็จะเป็นผิวแบบเดียว • ไม่หลากหลายชั้น • ไม่หลายแบบ • ไม่มีลายสนิมละเอียดมาก • ไขขาวขุ่น อาจทำได้ โดยใช้สารที่สีคล้ายไขโปะ • ที่มักมีกลิ่นใหม่ๆ • ไม่ติดแน่น และ • ไม่เกิดใหม่เมื่อใช้ไปนานๆ • รอยแยกแบบร่างแห อาจทำได้โดยการบิดพระ • แต่มักเป็นแนวขนานกัน • เกิดเป็นร่องลึก ไม่ร้าวเฉพาะที่ผิว • ไม่เป็นตาข่ายหลากหลายทิศทาง และ......... • ไข ที่เกิดใหม่ตลอดเวลา ทำได้อย่างไร • การตกสะเก็ดไล่สี และไขปูด หลากสีแบบไล่สีจากขาวขุ่นไปหาแดง ทำได้อย่างไร (ที่ทำปลอมมีสีเดียว หรือหลายสี แต่ไม่ไล่สี - no chromatographic gradient) • สนิมไข่ปลาแยกเม็ดเล็กๆทั้งองค์ (หรือบางท่านเรียก สนิมผด) ไล่สีเป็นเม็ดเรียงแถวล้อมด้วยไขและคราบกรุ ไล่สีเป็นแถวเป็นแนว ทำได้อย่างไร (ที่ทำปลอมๆใช้ลายประทับบนสีแดงนั้นหยาบและดูง่ายมาก) • สนิมขุมเป็นหลุมเล็กๆ ละเอียดยิบประสานกับรอยแยก และเส้นใยแมงมุม ทำได้อย่างไร • สนิม ๓-๔ ชั้น แบบไล่สี หลากแบบ ลอกออก หรือกร่อนไป ก็จะเกิดใหม่อีกนั้น ทำได้อย่างไร • เส้นใยแมงมุม นูน ละเอียดยิบที่ปูดออกมาจากรอยแยกใยแมงมุมเป็นตาข่าย จนแห้งปิดรอยแยกแบบไล่สีขาวไปหาแดง ในเส้นเดียวกัน ทำได้อย่างไร • และ การรักษาแผลตัวเอง (พระสนิมแดงมีชีวิต) โดยการขับไขฉ่ำออกมาตามรอยแตก รอยบิ่น ตลอดอายุพระที่ผ่านการใช้มามาก ทำได้อย่างไร ผมหวังว่าจะมีคนระดับเซียนพระกรุ ที่หวังดีกับสังคมพระเครื่อง ช่วยตอบคำถามและอธิบายประเด็นข้างบนนี้ และชี้แนะให้ผมมีโอกาสได้รู้จักที่ตั้งและเทคนิควิธีการของโรงงานที่ทำพระเก๊เหล่านี้ ในระดับ "ปาดคอเซียน" ผมจะได้มีโอกาส • • • ไปทัศนศึกษา และ • เพื่อที่ผมจะได้ความใหม่ในหลักการแยกพระกรุสนิมแดง ออกจากพระโรงงาน เมื่อใช้หลักการนี้ ผมได้แยกพระกรุ พระร่วงหลังรางปืนสนิมแดง ออกจากพระโรงงานได้ (ที่ผมยังไม่เคยพบงานหรือการเขียนใดๆ ที่อธิบายอย่างตรงไปตรงมาในเรื่องนี้) ผมจึงได้พบพระร่วงหลังรางปืน จำนวนไม่น้อยกว่า ๖ พิมพ์ ที่ไม่ควรจะมาจากกรุเดียวกัน หรือพิมพ์เดียวกัน ดังนี้ พระร่วงหลังรางปืน ศรีสัชนาลัย ด้านหลังแบบร่องลึก มีเส้นกาบหมากและไขปูดหลากสี พระร่วงรางปืน หลังร่องลึกปลายมน หลังร่องตื้นปลายมน หลังร่องตื้น เนื้อชินเงิน หลังร่องตื้นปลายเหลี่ยม • รางปืนร่องลึกปลายมน • รางปืนร่องตื้น ไม่มีปลายชัดเจน • รางปืนร่องตื้นปลายมนแหลมยาว • รางปืนร่องตื้นปลายมนแหลมสั้น • รางปืนร่องตื้น ปลายสี่เหลี่ยม • รางปืนร่องลึกแคบ ที่ในตำราบอกว่าเป็นหลังร่อง ส่วนใหญ่ หรือทั้งหมดมีลายกาบหมาก และสนิม ๔ ชั้นเป็นอย่างน้อย ผมจึงพยายามเทียบเคียงกับตำราในเชิงศิลปะ สีสนิมที่พอจะมีบรรยายบ้างในเนต และในตำรา ทำให้แยกได้ว่า • ๔ ประเภทแรกเป็นพระจากกรุของเมืองศรีสัชนาลัย • ประเภทที่ ๕ น่าจะมาจากสวรรคโลก (ที่ยังนิยมเรียกว่า “สุโขทัย” ทั้งๆที่ชื่อ สุโขทัย น่าจะยังไม่มีในสมัยที่ขอมครองในยุคลพบุรี) • และสุดท้ายน่าจะมาจากเมืองอู่ทอง (ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีปัจจุบัน) ผมพยายามเทียบเคียงความรู้ที่ผมค้นคว้ามากับตำราที่มีอยู่ ก็พอสอดคล้องในเชิงมวลสาร ความเก่า และการพัฒนาการ แต่พอมาถึงจำนวนพระ มักจะยืนยันจำนวนเดิม และกรุเดียวทุกครั้ง ที่ผมคิดว่า เมืองใหญ่ระดับเมืองเอก หรือเมืองหลวงที่รุ่งเรืองทางศาสนา ไม่น่าจะมีพระเพียงกรุเดียว และกรุเดียวนี้ก็ไม่อธิบายความหลากหลายของพิมพ์พระ ผมจึงได้วิพากษ์ไว้ว่า • พระร่วงรางปืนน่าจะมีหลายกรุ หลายพิมพ์ แต่ละกรุน่าจะมีหลายองค์ • น่าจะมีพระที่หลุดรอดการบันทึก จากระบบการ “แอบ” ขุด แล้วไม่นำมาขายให้เซียนพระ จึง......อาจทำให้ • ยังคงมีพระร่วงรางปืนที่มีเนื้อเก่าถึงยุค • และพิมพ์หลากหลายปรากฏอยู่ • ที่......ทำให้ • ผมมีโอกาสได้ครอบครองจากแรงอธิษฐานเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยของผมเอง • ไม่เคยมีกิเลสที่จะครอบครองวัตถุมงคลเหล่านี้ บทวิพากษ์นี้ จะถูก หรือผิดอย่างไรขอให้ผู้รู้ช่วยวิพากษ์ต่อยอดด้วยใจเป็นธรรม เพื่อสร้างกุศลในการศึกษาประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ในดินแดนแถบนี้ด้วยเทอญ ขอให้....คิดเสียว่าได้ช่วยกันพัฒนาและแลกเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้รุ่นของเรา และประชาชนรุ่นต่อๆไป เขาจะได้มีความรู้ที่ถูกต้อง ผมยินดีรับฟังคำวิพากษ์ที่สร้างสรรจากผู้รู้ทุกท่านครับ
ขอขอบคุณบทความจาก ดร. แสวง รวยสูงเนิน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ที่มา
http://www.gotoknow.org/blog/antiques/380205
ผมเข้ามาในวงการพระเครื่อง ทั้งโดยบังเอิญ และตั้งใจ
เพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยที่คลุมเคลือ ตั้งแต่ยุคสุโขทัยขี้นไป
ผมจึงเน้นศึกษาพระกรุ ตั้งแต่ยุคทวาราวดีลงมาถึงสุโขทัย มีอยุธยาบ้างก็บางองค์
ก่อนหน้านี้ผมได้พยายามศึกษาประวัติศาสตร์ผ่านเหรียญกษาปณ์จนได้เหรียญและเงินโบราณแบบแท้ๆ มาเต็มตู้ (แต่ก็มีเก๊ปนมาบ้างในช่วงแรกๆ ที่ส่วนใหญ่มาจากแผงพระ)
และผมคิดว่า
- ผมอาจจะบังเอิญโชคดีที่พบคนที่บริสุทธิ์ใจกับผม
- หรือทั้งวงการเหรียญกษาปณ์เขาเป็นกันอย่างนี้ส่วนใหญ่ ไม่คิดจะหากินแบบหลอกลวงต้มตุ๋นคนที่ไม่รู้ด้วยความรู้ของตัวเองที่เหนือกว่า
- นอกจากนี้ผู้ขายเหรียญโบราณเขายังรับประกันการซื้อคืนอย่างน้อยด้วยเงินเท่าเดิม แบบไม่หักส่วนลดใดๆ
- ทำให้ผมสบายใจที่จะเก็บเงินโบราณเหล่านั้นไว้เป็นทรัพย์สินถึงลูกถึงหลาน ได้แบบมูลค่าไม่ลดลง
แต่เมื่อผมเข้ามาในวงการพระเครื่อง ผมกลับเจอ “วิชามาร” ทุกรูปแบบ
ที่พยายามทุกวิถีทางที่จะเอาเปรียบคนไม่รู้ หรือรู้น้อยกว่า ตั้งแต่
- ขายพระโรงงาน (พระเก๊) ในราคาพระแท้ ทั้งที่บอกว่า “ให้เช่า” ไม่ได้ “ขาย” คือ ซื้อแล้วคืนไม่ได้
- สวดพระแท้ให้เป็นพระเก๊ เพื่อจะได้ซื้อหรือเหมาในราคาถูก (จึงไม่สามารถเก็บพระกรุ ไว้เป็นมรดกกับลูกหลานที่ยังไม่รู้ได้)
- ปิดบังข้อมูล และความจริงที่ควรให้ผู้อื่นที่ต้องการศึกษา เพื่อแยกแยะว่าพระแท้ และพระโรงงานมีลักษณะต่างกันอย่างไร
- อย่างมากก็มีแต่บอกว่า “ชอบ” “ไม่ชอบ” โดยไม่พยายามอธิบายว่า "ทำไม"
- และมักใช้ความเคยชิน (รวมทั้งวิชามาร) ของตนเองตัดสินพระแท้ พระเก๊ มากกว่าจะมีหลักการวิชาการของพัฒนาการของมวลสารและวัสดุสนับสนุน
- ไม่ปรามการทำพระโรงงาน พร้อมใบประกาศรับรองเก๊ๆ ที่พยายามสร้างเลียนแบบพระแท้ ไว้หลอก "หมูสนาม" ที่น่าจะทำให้สถาบัน/สมาคม เสียชื่อเสียงไปด้วย
ทำให้คนที่เข้ามาใหม่ต้องกลายเป็นเหยื่อ และถ้าใครไม่พัฒนาตัวเอง ไต่ระดับหนีความเป็นเหยื่ออย่างรวดเร็ว ก็จะกลายเป็น “หมูสนาม” ตลอดกาล
วงการนี้ไม่ปรานีผู้ด้อยความรู้และอ่อนแอทางความคิด
มีแต่เก็บพระเก๊เต็มบ้าน ดังที่ผมเคยสรุปบทเรียนไว้แล้วว่า คนที่เข้าไปในตลาดพระมีอย่างน้อย ๖ ระดับ
- และ มักให้ข้อมูลที่ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่จริงแค่ไหนว่า แบบเล่าต่อๆกันมา ว่า พระองค์ไหนมีอยู่เท่าไหร่ เช่นทั้งกรุ มี ๕ องค์บ้าง ๑๐ องค์บ้าง ไม่เกิน ๑๐๐ องค์บ้าง
- เพื่อจะทำให้ดูว่าเป็นของหายากและราคาแพง เป็นหลักล้าน หรือสิบล้านขึ้นไป
โดยเฉพาะกรณี พระร่วงรางปืน (ศิลปะลพบุรี) นั้น
มีการให้ข้อมูลว่ามีอยู่ไหเดียว สมบูรณ์จริงๆ ไม่เกิน ๕ องค์
ปัจจุบันอยู่ในมือเศรษฐี และเซียนพระระดับประเทศหมดแล้ว
แรกๆ ที่ผมเคยรับข้อมูลเหล่านี้เข้ามา ทำให้รู้สึกว่า ผมน่าจะไม่มีโอกาสได้เห็นหรือครอบครองแน่นอน จึงไม่คิดหวัง แต่ก็อาราธนาไว้ในใจตลอดเวลา เห็นที่ไหนก็พยายามศึกษา พยายามดู พยายามส่อง
ก่อนที่จะได้เห็นพระร่วงรางปืนองค์จริง
- ผมได้พยายามศึกษาลักษณะของพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง องค์อื่นๆ ที่เขาว่ากันว่าแท้ๆ ต้องเป็นอย่างนี้
- จนได้หลักการพิจารณาตามที่ผมบันทึกสรุปบทเรียนไว้แล้วว่า
- ต้องมีไขฉ่ำ
- มีสนิมหลายชั้น
- แต่ละชั้นจะเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
- ที่พระโรงงานทำได้ยังไม่เหมือน
- แล้วจึงค่อยๆนำหลักการดังกล่าวมาทดสอบกับพระแท้ที่ราคาไม่แพง
- จนไต่ระดับไปหาพระแท้ราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ
- จนมั่นใจว่าหลักเกณฑ์ที่ใช้นั้น แบ่งแยกพระโรงงานและพระกรุออกจากกันได้เกิน ๙๐ % ขึ้นไป บางองค์ก็มั่นใจเกิน ๙๙%
หลักการดังกล่าว ผมนำมาใช้พิจารณาการเหมาซื้อพระตามบ้าน หลายบ้าน ที่แต่ละบ้านเจ้าของเก่าตายไปแล้ว แต่มีพระกรุรังใหญ่ๆ เก็บไว้ให้ลูกหลานเป็นร้อย เป็นพันๆองค์
ในการไปเหมาพระ ผมต้องมีการจัดการคัดแยก แท้-เก๊ อย่างรวดเร็ว ที่มีจะต้องมีโอกาสพลาดไม่ให้เกิน ๕%
ทำให้ผมได้พระกรุพิมพ์ต่างๆ มาหลายพันองค์ ที่ได้มากที่สุดก็คือ พระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ทุกประเภท นอกจากนั้น ก็ชินต่างๆ ชินเงิน และเนื้อดิน
และแน่นอน ส่วนหนึ่งเป็นพระร่วงยืน พระร่วงนั่ง หลังร่อง หลังลายผ้า ศิลปะลพบุรี
และสุดท้าย
ผมก็พบพระร่วง หลังรางปืน ที่เป็นพระศิลปะลพบุรี เนื้อและพิมพ์ต่างๆ ที่กล่าวกันว่า “แตกกรุมาจากสุโขทัย”
ขณะที่ผมคัดแยกพระนั้น ผมก็สงสัยไป ว่า ความรู้ที่ผมมีนั้นใช้ได้จริงหรือไม่
ผมพยายามวิพากษ์กับคนที่เปิดใจคุยกันได้หลายคน ก็สรุปว่า
ความรู้ที่ผมสรุปและบันทึกไว้นั้น น่าจะใช้ได้ และน่าเชื่อได้ว่า
ผมได้พระแท้ๆมาครอบครองแล้ว
แต่....
เมื่อผมลองทดสอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยนำไปให้ร้านพระเครื่องดูที่ ตลาดพันทิพย์ งามวงษ์วาน ก็มีแต่ตีเก๊อย่างเดียว คุยอะไร ถามอะไรก็ไม่บอก
ผมเสียเวลาเปล่าๆ เดินเกือบทุกร้านถึง ๒ วัน แบบไม่ได้ความรู้อะไรเลย
เพื่อนฝูงบอกภายหลังว่า
เขาตีเก๊เพราะเขาจะซื้อราคาถูก
จึงอธิบายไม่ได้
ผมเลยไม่คิดจะไปเรียนที่นั่น หรือที่อื่นๆ ในประเภทเดียวกันอีกต่อไป
จึงมาถึงประเด็นว่า พระร่วงรางปืนเหล่านั้น (ถ้าแท้) จะมาจากไหน
ก็.........
ทั้งเขตจังหวัดสุโขทัยปัจจุบัน ที่เคยเป็นเมืองโบราณมาหลายร้อยปี
มีเมืองเล็กเมืองน้อยเป็นบริวารมากมาย
มีวัดโบราณเก่าๆเป็นร้อย
มีกรุไม่รู้เท่าไหร่น่าจะเป็นหลายร้อย
แต่.....
พบว่ามีพระร่วงหลังรางปืนอยู่เพียงไหเดียว ประมาณ ๒๐๐ องค์ พอดูได้ไม่เกิน ๓๐ องค์ ที่สมบูรณ์ไม่เกิน ๕ องค์
และอยู่ในมือคนมีเงินหมดแล้ว ราคาว่ากันหลักล้าน
จึงมาถึงจุดใหญ่ใจความ
แล้วที่ผมจำแนก
-
- ตามเกณฑ์การพัฒนาการของสนิมแดง ไข และเส้นใยแมงมุม
- มันผิดพลาดตรงไหน
- หรือว่าเขาทำเก๊ ได้แล้วจริงๆ
เท่าที่สืบทราบมา
- ผิวสนิมแดง อาจทำได้ โดยใช้สีทา
- แต่ก็จะเป็นผิวแบบเดียว
- ไม่หลากหลายชั้น
- ไม่หลายแบบ
- ไม่มีลายสนิมละเอียดมาก
- ไขขาวขุ่น อาจทำได้ โดยใช้สารที่สีคล้ายไขโปะ
- ที่มักมีกลิ่นใหม่ๆ
- ไม่ติดแน่น และ
- ไม่เกิดใหม่เมื่อใช้ไปนานๆ
- รอยแยกแบบร่างแห อาจทำได้โดยการบิดพระ
- แต่มักเป็นแนวขนานกัน
- เกิดเป็นร่องลึก ไม่ร้าวเฉพาะที่ผิว
- ไม่เป็นตาข่ายหลากหลายทิศทาง
และ.........
- ไข ที่เกิดใหม่ตลอดเวลา ทำได้อย่างไร
- การตกสะเก็ดไล่สี และไขปูด หลากสีแบบไล่สีจากขาวขุ่นไปหาแดง ทำได้อย่างไร (ที่ทำปลอมมีสีเดียว หรือหลายสี แต่ไม่ไล่สี - no chromatographic gradient)
- สนิมไข่ปลาแยกเม็ดเล็กๆทั้งองค์ (หรือบางท่านเรียก สนิมผด) ไล่สีเป็นเม็ดเรียงแถวล้อมด้วยไขและคราบกรุ ไล่สีเป็นแถวเป็นแนว ทำได้อย่างไร (ที่ทำปลอมๆใช้ลายประทับบนสีแดงนั้นหยาบและดูง่ายมาก)
- สนิมขุมเป็นหลุมเล็กๆ ละเอียดยิบประสานกับรอยแยก และเส้นใยแมงมุม ทำได้อย่างไร
- สนิม ๓-๔ ชั้น แบบไล่สี หลากแบบ ลอกออก หรือกร่อนไป ก็จะเกิดใหม่อีกนั้น ทำได้อย่างไร
- เส้นใยแมงมุม นูน ละเอียดยิบที่ปูดออกมาจากรอยแยกใยแมงมุมเป็นตาข่าย จนแห้งปิดรอยแยกแบบไล่สีขาวไปหาแดง ในเส้นเดียวกัน ทำได้อย่างไร
- และ การรักษาแผลตัวเอง (พระสนิมแดงมีชีวิต) โดยการขับไขฉ่ำออกมาตามรอยแตก รอยบิ่น ตลอดอายุพระที่ผ่านการใช้มามาก ทำได้อย่างไร
ผมหวังว่าจะมีคนระดับเซียนพระกรุ ที่หวังดีกับสังคมพระเครื่อง ช่วยตอบคำถามและอธิบายประเด็นข้างบนนี้
และชี้แนะให้ผมมีโอกาสได้รู้จักที่ตั้งและเทคนิควิธีการของโรงงานที่ทำพระเก๊เหล่านี้ ในระดับ "ปาดคอเซียน"
ผมจะได้มีโอกาส
-
-
- ไปทัศนศึกษา และ
- เพื่อที่ผมจะได้ความใหม่ในหลักการแยกพระกรุสนิมแดง ออกจากพระโรงงาน
-
เมื่อใช้หลักการนี้
ผมได้แยกพระกรุ พระร่วงหลังรางปืนสนิมแดง ออกจากพระโรงงานได้ (ที่ผมยังไม่เคยพบงานหรือการเขียนใดๆ ที่อธิบายอย่างตรงไปตรงมาในเรื่องนี้)
ผมจึงได้พบพระร่วงหลังรางปืน จำนวนไม่น้อยกว่า ๖ พิมพ์ ที่ไม่ควรจะมาจากกรุเดียวกัน หรือพิมพ์เดียวกัน ดังนี้
พระร่วงหลังรางปืน ศรีสัชนาลัยด้านหลังแบบร่องลึก มีเส้นกาบหมากและไขปูดหลากสีพระร่วงรางปืน หลังร่องลึกปลายมนหลังร่องตื้นปลายมนหลังร่องตื้น เนื้อชินเงินหลังร่องตื้นปลายเหลี่ยม- รางปืนร่องลึกปลายมน
- รางปืนร่องตื้น ไม่มีปลายชัดเจน
- รางปืนร่องตื้นปลายมนแหลมยาว
- รางปืนร่องตื้นปลายมนแหลมสั้น
- รางปืนร่องตื้น ปลายสี่เหลี่ยม
- รางปืนร่องลึกแคบ ที่ในตำราบอกว่าเป็นหลังร่อง
ส่วนใหญ่ หรือทั้งหมดมีลายกาบหมาก และสนิม ๔ ชั้นเป็นอย่างน้อย
ผมจึงพยายามเทียบเคียงกับตำราในเชิงศิลปะ สีสนิมที่พอจะมีบรรยายบ้างในเนต และในตำรา
ทำให้แยกได้ว่า
-
๔ ประเภทแรกเป็นพระจากกรุของเมืองศรีสัชนาลัย
-
ประเภทที่ ๕ น่าจะมาจากสวรรคโลก
(ที่ยังนิยมเรียกว่า “สุโขทัย” ทั้งๆที่ชื่อ สุโขทัย น่าจะยังไม่มีในสมัยที่ขอมครองในยุคลพบุรี)
-
และสุดท้ายน่าจะมาจากเมืองอู่ทอง (ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีปัจจุบัน)
ผมพยายามเทียบเคียงความรู้ที่ผมค้นคว้ามากับตำราที่มีอยู่ ก็พอสอดคล้องในเชิงมวลสาร ความเก่า และการพัฒนาการ
แต่พอมาถึงจำนวนพระ มักจะยืนยันจำนวนเดิม และกรุเดียวทุกครั้ง
ที่ผมคิดว่า เมืองใหญ่ระดับเมืองเอก หรือเมืองหลวงที่รุ่งเรืองทางศาสนา ไม่น่าจะมีพระเพียงกรุเดียว และกรุเดียวนี้ก็ไม่อธิบายความหลากหลายของพิมพ์พระ
ผมจึงได้วิพากษ์ไว้ว่า
- พระร่วงรางปืนน่าจะมีหลายกรุ หลายพิมพ์ แต่ละกรุน่าจะมีหลายองค์
- น่าจะมีพระที่หลุดรอดการบันทึก จากระบบการ “แอบ” ขุด แล้วไม่นำมาขายให้เซียนพระ
จึง......อาจทำให้
- ยังคงมีพระร่วงรางปืนที่มีเนื้อเก่าถึงยุค
- และพิมพ์หลากหลายปรากฏอยู่
- ที่......ทำให้
- ผมมีโอกาสได้ครอบครองจากแรงอธิษฐานเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยของผมเอง
- ไม่เคยมีกิเลสที่จะครอบครองวัตถุมงคลเหล่านี้
บทวิพากษ์นี้ จะถูก หรือผิดอย่างไรขอให้ผู้รู้ช่วยวิพากษ์ต่อยอดด้วยใจเป็นธรรม เพื่อสร้างกุศลในการศึกษาประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ในดินแดนแถบนี้ด้วยเทอญ
ขอให้....คิดเสียว่าได้ช่วยกันพัฒนาและแลกเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้รุ่นของเรา และประชาชนรุ่นต่อๆไป เขาจะได้มีความรู้ที่ถูกต้อง
ผมยินดีรับฟังคำวิพากษ์ที่สร้างสรรจากผู้รู้ทุกท่านครับ