สถิติ
เปิดเว็บ | 25/05/2011 |
อัพเดท | 22/04/2017 |
ผู้เข้าชม | 3,824,181 |
เปิดเพจ | 5,129,220 |
สินค้าทั้งหมด | 127 |
บริการ
-
หน้าหลัก
-
รวมพระทุกหมวด
-
พระศึกษาและสะสม
-
พระสมเด็จวัดระฆัง
-
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
-
พระสมเด็จวัดเกศไชโย
-
พระซุ้มกอ
-
พระรอด
-
พระนางพญา
-
พระผงสุพรรณ
-
พระกรุเนื้อดิน-ผง-ว่าน
-
พระกรุเนื้อชิน
-
รายการวัตถุมงคล
-
พระกรุ พระเครื่อง โบราณ
-
วัตถุมงคลรุ่นแรก เก่าหายาก
-
วัตถุมงคล ออกใหม่
-
ตารางกิจนิมนต์
-
กำหนดการณ์ งานพิธีวัดไทรย้อย
-
โครงการต่างๆ ของวัด
-
แกลลอรี่รูปภาพ
-
เว็บบอร์ด
-
ติดต่อเรา
พระมเหศวร กรุวัดพระศรีมหาธาตุ สุพรรณบุรี พิมพ์ใหญ่ ชินเขียว
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
S-234
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
22/02/2014 10:34
-
ความนิยม
-
รายละเอียดสินค้า
พระมเหศวร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี - ชินเขียว พิมพ์ใหญ่
"พระมเหศวร" เป็นพระพิมพ์ประเภทเนื้อชินเงินมีทั้งที่เป็นเนื้อชินเงิน หรือเนื้อชินแข็ง หรือเนื้อชินกรอบ ซึ่งเป็นส่วนผสมเนื้อดีบุกมากกว่าเนื้อตะกั่ว เนื้อชินชนิดนี้จะมีลักษณะที่แข็ง นักนิยมสะสมพระเครื่องสมัยก่อนจึงเรียกชินที่ว่านี้ว่า เนื้อชินกรอบ เนื้อชินเงินชนิดนี้มีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่งคือ เมื่อมีอายุกาลที่เนิ่นนานเข้าจะเกิดปฏิกิริยากับอากาศ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า เกิดสนิม จะมีลักษณะกัดกร่อนลงไปในเนื้อมากบ้างน้อยบ้าง เล็กบ้างใหญ่บ้างแล้วแต่ปัจจัยปรุงแต่ง เช่น ความชื้น ความเป็นกรดของดินหรือปูนในกรุในเจดีย์ที่เรียกว่า "สนิมขุม" นอกจากนั้นแล้วยังจะเกิดรอยระเบิดแตกปริตามผิวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การระเบิดแตกปรินี้จะแตกจากภายในปะทุออกมาข้างนอก จากปรากฏการณ์ดังที่กล่าวแล้วนั้นสามารถมองเห็นอย่างเด่นชัดและมองเห็นอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นหลักในการพิจารณาอีกอย่างหนึ่ง
"พระมเหศวร" บางองค์มีส่วนผสมของเนื้อตะกั่วมากกว่าเนื้อดีบุก จึงเรียกว่า "ชินอ่อน" เนื้อไม่แข็งเหมือนกับชินเงิน กระทบของแข็งจะเกิดเป็นรอยบุ๋มลึกเพราะเนื้ออ่อน สามารถที่จะโค้งงอได้เล็กน้อย นักนิยมสะสมพระเครื่องมักจะเรียกชินชนิดนี้ว่า ชินอ่อน ข้อดีของชินชนิดนี้คือจะไม่เกิดสนิมขุมหรือรอยกัดกร่อนหรือระเบิดแตกปริเหมือนเนื้อชินเงิน แต่จะเกิดสนิมไขเป็นสีนวลขาว แต่แปลกอยู่อย่างหนึ่งคือ สนิมไขของพระมเหศวรที่ว่านี้จะไม่เป็นเม็ดตึงเต่งอย่างกับสนิมไขในพระเนื้อชินอ่อน หรือชินตะกั่ว แต่สนิมจะเกิดเป็นแผ่นอย่างกับสนิมไขของเทียม ถ้าใช้ไม้ทิ่มแทงสนิมไขที่ว่านี้จะค่อยๆหลุดออก แต่ถ้าทิ้งเอาไว้หรือแขวนคอพอถูกไอเหงื่อก็จะเกิดขึ้นมาอีกภายใน 3-4 วัน คล้ายกับว่ามันหยั่งรากฝั่งลึกลงไปในเนื้อเสียแล้ว แต่ถ้าเป็นสนิมไขที่ทำเทียมเวลาล้างเอาสนิมไขออกจะหลุดออกหมด และไม่เกิดขึ้นมาใหม่เหมือนพระมเหศวรแท้เลย
ผิวพระมเหศวรจะเป็นสองชั้น กล่าวคือถ้ายังไม่ได้ใช้ถูกสัมผัสผิวจะเนียนและมีสีออกไปทางดำเอามากๆ แต่ถ้าถูกใช้จนสึกจะเห็นเนื้อในขาวนวลสดใสอย่างกับสีเงินยวง เข้าใจว่าคงจะมีส่วนผสมของปรอทอยู่มากนั่นเอง แต่ถ้าตรงรอยสึกแลเห็นเนื้อในและที่ยังไม่สึกเป็นคราบผิวหนาคลุมอยู่
พิมพ์ทรงของ "พระมเหศวร" มีมากมายหลายพิมพ์ แต่มีพิมพ์นิยมคือ พิมพ์มีขีดที่พื้นผนังด้านเหนือพระเศียร 2 ขีด และ 3 ขีด เรียกว่าพิมพ์ สิบโท สิบเอก พิมพ์หน้าใหญ่และพิมพ์ไม่มีขีดที่พื้นผนังด้านเหนือพระเศียรเรียกกันว่า พระมเหศวร พิมพ์ไม่มีบั้ง แต่ปัจจุบันนิยมเล่นหากันทุกพิมพ์ที่เป็นพระมเหศวรที่มีคราบไคลความเก่าปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์เล็กพิมพ์น้อย ก็ล้วนแต่มีราคาค่างวดไปทั้งหมดทั้งสิ้น
"พระมเหศวร" จากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ด้วยกัน คือ
1. พิมพ์หน้าใหญ่ (พิมพ์นิยม)
2. พิมพ์หน้ากลาง
3. พิมพ์หน้าเล็ก
4. พิมพ์พิเศษ (มีน้อยมาก)
นอกจากนี้ยังมีพิมพ์ศวรเดี่ยว ศวรตรง มีทั้งพิมพ์หน้าเดี่ยวและสองหน้า พิมพ์ด้านหน้าเป็นพระมเหศวรแต่อีกด้านหนึ่งเป็นพิมพ์ปรกและพิมพ์ซุ้มจิกก็มี "พระมเหศวร" เป็นพระเนื้อชินเงินแกตะกั่ว ไม่ปรากฏสนิมแดงและคราบไขเหมือนพระชินตะกั่วทั่วๆไป มีลักษณะอ่อนไม่เหมือนกับชินอื่นใด ในองค์ที่ไม่ได้ใช้เลยจะปรากฏผิวปรอทเกาะเป็นสีขาวซีดๆ แต่เพียงรางๆเท่านั้น เมื่อใช้ถูกเหงื่อไคลผิวปรอทจะจางหายไปกลับเป็นสีดำ และมีสนิมขุมสีดำที่เรียกว่าสนิมตีนกาจับเป็นแท่งๆ บางองค์อยู่ก้นกรุจะมีรอยระเบิดปะทุจากภายในออกมาภายนอก ขอได้โปรดสังเกตและพิจารณาให้ดีของเทียมนั้นจะระเบิดจากข้างนอกเข้าไปข้างในและพิมพ์ทรงจะตื้นและเล็กกว่า ผิวพรรณดูไม่สดใสชวนมอง
จุดพิจารณาประการสำคัญ คือ "พระมเหศวร" จะพบเฉพาะกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรีเท่านั้น จะไม่พบในกรุอื่นหรือจังหวัดใดๆเลย
จากหนังสือเบญจมหามงคล ของ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย