สถิติ
เปิดเว็บ | 25/05/2011 |
อัพเดท | 22/04/2017 |
ผู้เข้าชม | 3,781,803 |
เปิดเพจ | 5,083,198 |
สินค้าทั้งหมด | 127 |
บริการ
-
หน้าหลัก
-
รวมพระทุกหมวด
-
พระศึกษาและสะสม
-
พระสมเด็จวัดระฆัง
-
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
-
พระสมเด็จวัดเกศไชโย
-
พระซุ้มกอ
-
พระรอด
-
พระนางพญา
-
พระผงสุพรรณ
-
พระกรุเนื้อดิน-ผง-ว่าน
-
พระกรุเนื้อชิน
-
รายการวัตถุมงคล
-
พระกรุ พระเครื่อง โบราณ
-
วัตถุมงคลรุ่นแรก เก่าหายาก
-
วัตถุมงคล ออกใหม่
-
ตารางกิจนิมนต์
-
กำหนดการณ์ งานพิธีวัดไทรย้อย
-
โครงการต่างๆ ของวัด
-
แกลลอรี่รูปภาพ
-
เว็บบอร์ด
-
ติดต่อเรา
พระนาคปรก พิมพ์จีโบใหญ่ กรุวัดพระศรีฯ จ.ลพบุรี
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
S-231
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
22/02/2014 10:35
-
ความนิยม
-
รายละเอียดสินค้า
พระนาคปรก พิมพ์จีโบใหญ่ เนื้อชินเงิน
กรุวัดพระศรีมหาธาตุ จ.ลพบุรี
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดหลวงประจำจังหวัดลพบุรี
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ ในสมัยลพบุรี
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีสถาปัตยกรรมที่สำคัญ คือ พระปรางค์ ขนาดใหญ่ตั้งอยู่กึ่งกลางของวัด ล้อมรอบด้วยระเบียงคด และขนาบด้วยพระปรางค์ขนาดเล็ก
พระปรางค์ประธาน สูง ๓๐.๗๐ เมตร ก่อด้วยศิลาแลง ด้านทิศตะวันออกมีมุขยื่น ประดับลวดลายปูนปั้นเป็นพระพุทธรูป และพุทธประวัติที่หน้าบัน มีลวดลายหน้าบุคคลและพันธุ์พฤกษา
มีวิหารหลวง (วิหารเก้าห้อง) อยู่ด้านหน้าของพระปรางค์ประธาน สร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประตูเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย ส่วนหน้าต่างเป็นแบบตะวันตก มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ศาลาเปลื้องเครื่อง สำหรับพระเจ้าแผ่นดินเปลี่ยนเครื่องทรง ก่อนที่จะเข้าไปประกอบศาสนกิจ
นอกจากนี้ ยังมีเจดีย์ และพระปรางค์ขนาดเล็กหลายองค์ ก่อสร้างในหลายยุคหลายสมัย
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ได้เสื่อมโทรมลง หลังจากที่บ้านเมืองต้องร้าง เนื่องจากภัยสงคราม ภายในวัดต้องพังสลายไปตามกาลเวลา บรรดาของมีค่าที่บรรจุอยู่ภายในเจดีย์ได้ถูกนักแสวงหาสมบัติขุดทำลาย เพื่อหาของมีค่าต่างๆบรรดาพระบูชา และพระเครื่องที่ถูกขุดค้นนั้น มีหลายศิลปะ คละเคล้ากันไปตั้งแต่ ทวารวดี ลพบุรี และอยุธยา
พระกรุวัดนี้มี พิมพ์พระนาคปรก มากที่สุด ประมาณ ๓๐ พิมพ์ แต่ละพิมพ์บ่งบอกถึงความอลังการ โดยฝีมือสกุลช่างขอม แบบมหายาน ซึ่งไม่มีพระกรุไหนในเมืองไทย ที่มีพระนาคปรกสวยเหมือนกรุวัดพระศรีฯ แห่งนี้เลย เพราะแต่ละพิมพ์ล้วนเป็น ฝีมือช่างหลวง ทั้งสิ้น
พระนาคปรก กรุวัดพระศรีฯ จ.ลพบุรี มีทั้งเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง เนื้อดิน เนื้อสัมฤทธิ์ และที่พบมากที่สุด คือ เนื้อชินเงิน ซึ่งมีคราบปรอทขาววาววับคลุมทั่วองค์พระ
ส่วนพระนาคปรก นอกกรุ วัดพระศรีฯ ที่ขุดพบในเมืองลพบุรี จะเป็นฝีมือช่างชาวบ้านธรรมดา พิมพ์ทรงด้านพุทธศิลป์ด้อยกว่า อาทิ กรุวัดบันไดหิน และกรุวัดปืน ที่ขึ้นชื่อโด่งดังในด้านมหาอุดหยุดได้
พระนาคปรก กรุวัดพระศรีฯ จ.ลพบุรี องค์แรกที่นำมาให้ชมวันนี้ คือ พิมพ์จีโบใหญ่ (หรือชีโบใหญ่) เนื้อชินเงิน ถือเป็นพิมพ์สากล ศิลป์ลพบุรีบริสุทธิ์ มีความนิยมมากกว่าพิมพ์อื่นๆ ซึ่งมีหลากหลายแบบพิมพ์ของเมืองลพบุรี
พุทธลักษณะ องค์พระปฏิมาประทับนั่งปางสมาธิ เหนือขนดนาค เบื้องหลังมีพญานาคเจ็ดเศียร แผ่พังพาน เหนือเศียรองค์พระประทับอยู่บนฐานลักษณะเส้นตรงยาวเรียบ ๓ ชั้น เปรียบเสมือนประทับอยู่บนบัลลังก์ลำตัวนาค
พระนาคปรก พิมพ์จีโบใหญ่ นี้ ยังแยกออกเป็นหลายพิมพ์ โดยต่างกันเฉพาะที่ฐาน บางองค์ประทับอยู่บนฐานชั้นเดียว ฐาน ๒ ชั้น และฐาน ๓ชั้น
พระมาลาสวมมงกุฎ แบบจีโบสามชั้น (จีโบ = หมวกโบราณ ขอบยาวลงมาปกหู เพื่อกันความหนาว เวลาไม่ใช้พับขึ้นมาได้) อันเป็นพุทธศิลป์ของยุคลพบุรี
พระพักตร์มีความคมชัดพอประมาณ พระกรรณทั้งสองข้างใหญ่และยาว จนย้อยลงมาจนถึงกรองศอ (สร้อยคอ)
พระวรกายล่ำสันสมบูรณ์ แต่ไม่ปรากฏพระนาภี (สะดือ) ให้เห็น พระหัตถ์ทั้งสองข้างประสานในลักษณะสมาธิ และมีวัตถุทรงกลมเล็กๆ (คล้ายลูกแก้ว) บนพระหัตถ์
องค์พระมีขนาดใหญ่กว่าพระนาคปรกของเมืองอื่นๆ คือ มีขนาดกว้างประมาณ ๒.๕ ซม. สูงประมาณ ๕ ซม. สนนราคา พระนาคปรก เนื้อชินเงิน สภาพปานกลาง หลักหมื่นปลาย ถึงหลักแสนต้น หากสวยงามสมบูรณ์คมชัดมากๆ จะอยู่ที่ ๑-๒ แสนขึ้นไป
พระนาคปรก กรุวัดพระศรีฯ จ.ลพบุรี องค์ต่อมา คือ พระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พิมพ์จีโบใหญ่ ฐานบัว พุทธลักษณะเหมือนพระนาคปรก เนื้อชินเงิน ทุกอย่าง แต่มีเพียง พิมพ์ฐาน ๓ ชั้น เท่านั้น
และที่พิเศษ คือ จะมีฐานด้านล่างอีกชั้นหนึ่ง มีลักษณะเป็นเม็ดกลม คล้ายเม็ดบัว จำนวน ๗ เม็ด วางเรียงอยู่ในฐานสวยงามมาก
พระนาคปรก พิมพ์นี้เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงจัด แบบแดงลูกหว้า และมีไขขาวหนา เหมือนไขวัว ขึ้นปกคลุมเหนือสนิมแดงอีกชั้นหนึ่ง
เนื่องจากเป็นพระฝังกรุที่มีอายุมากกว่า ๘๐๐ ปี ผ่านกาลเวลานานเข้า ไขขาวนี้ก็จะเซตแห้งตัว จับเป็นกลุ่มเป็นก้อน หรือเป็นแผ่นบนผิวพระ ลักษณะของไขขาว มีโทนสีขาวอมเหลือง ตามอายุความเก่าที่มีความแห้งสนิท
แต่ในความแห้งก็มีความหนึบนุ่ม มีน้ำมีนวล ไม่แห้งซีดกระด้าง ทำให้ระคายตา เหมือนไขขาวในพระเก๊ทั่วไป อีกทั้งลักษณะธรรมชาติอื่นๆ ในองค์พระ จะมีรอยปริร้าวเล็กๆ หรือร่องรอยการระเบิดตามส่วนต่างๆ ขององค์พระพระพิมพ์นี้ ตอนหลังได้แตกกรุที่ วัดพระสิงห์ จ.อุทัยธานี อีกจำนวนหนึ่ง มีไม่มากนัก เป็นพระยุคเดียวกับของเมืองลพบุรี เข้าใจว่าสร้างพร้อมกัน แล้วเอาไปฝากกรุที่เมืองอุทัยธานี
พระนาคปรกพิมพ์ จีโบใหญ่ ฐานบัว เนื้อสนิมแดง มีขนาดสูงกว่าพระนาคปรก เนื้อชินเงิน เล็กน้อย คือกว้างประมาณ ๒.๕ ซม. สูง ๕.๗ ซม.
สนนราคา พระสภาพปานกลาง ประมาณ ๑-๒ แสนบาท
หากเป็นพระสวยสมบูรณ์คมชัดมากๆ ประมาณ ๓-๔ แสนบาท
แต่พบเห็นยาก เพราะพระมีจำนวนน้อยมาก แทบนับองค์ได้ว่า
ทุกวันนี้มีใครบ้าง ที่มีพระพิมพ์นี้อยู่ในครอบครอง
พระนาคปรก เป็นพระประจำวันของคนที่เกิด วันเสาร์ แต่คนที่เกิดในวันอื่นๆ ก็สักการบูชาได้
พุทธคุณ พระนาคปรก โด่งดังทางด้านแคล้วคลาดมหาอุดและคงกระพัน ตามแบบฉบับของพระเมืองลพบุรีทุกประการ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก "ชาติ วิศิษฏ์สรอรรถ" จาก คมชัดลึก