สถิติ
เปิดเว็บ | 25/05/2011 |
อัพเดท | 22/04/2017 |
ผู้เข้าชม | 3,076,752 |
เปิดเพจ | 4,335,390 |
สินค้าทั้งหมด | 127 |
บริการ
-
หน้าหลัก
-
รวมพระทุกหมวด
-
พระศึกษาและสะสม
-
พระสมเด็จวัดระฆัง
-
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
-
พระสมเด็จวัดเกศไชโย
-
พระซุ้มกอ
-
พระรอด
-
พระนางพญา
-
พระผงสุพรรณ
-
พระกรุเนื้อดิน-ผง-ว่าน
-
พระกรุเนื้อชิน
-
รายการวัตถุมงคล
-
พระกรุ พระเครื่อง โบราณ
-
วัตถุมงคลรุ่นแรก เก่าหายาก
-
วัตถุมงคล ออกใหม่
-
ตารางกิจนิมนต์
-
กำหนดการณ์ งานพิธีวัดไทรย้อย
-
โครงการต่างๆ ของวัด
-
แกลลอรี่รูปภาพ
-
เว็บบอร์ด
-
ติดต่อเรา
พระนางกำแพง ลูกแป้งเดี่ยว เนื้อดำ
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
S-200
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
16/06/2011 00:00
-
ความนิยม
-
รายละเอียดสินค้า
พระนางกำแพง ลูกแป้งเดี่ยว - กรุวัดพิกุล จ.กำแพงเพชร เนื้อดินสีดำละเอียด
เอกลักษณ์ของพระสกุลกำแพง
พระนางพญากำแพงเพชร เรามักจะเรียกติดปากว่า "นางกำแพง" พระพิมพ์นี้เป็นพระเอกลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรอย่างแท้จริง เพราะรูปลักษณ์ของ พระนางพญากำแพงเพชร ไม่มีเมืองอื่นๆ ที่จะทำให้เหมือนได้ หรือแม้แต่ใกล้เคียง แต่พระนางพญากำแพงเพชรนั้น ปรากฏว่ามีมากกว่าพระอย่างอื่นทั้งหมด แม้แต่ พระกำแพงกลีบบัว ที่ว่ามีมากๆ ก็ยังน้อยกว่าพระนางพญากำแพงเพชร
พระนางพญากำแพงเพชร เป็นพระศิลปะของสุโขทัย ติดมาทางช่างสกุลกำแพงเพชร เท่าที่พบเป็นพระเนื้อดิน เนื้อชิน เนื้อว่าน และเนื้อตะกั่วสนิมแดง พระพิมพ์นี้ขุดพบแทบทุกกรุของเมืองกำแพงเพชร ทั้งบริเวณลานทุ่งเศรษฐี ฝั่งนครชุม ฝั่งจังหวัด เช่น กรุวัดบรมธาตุ กรุวัดพิกุล กรุอาวาสน้อย กรุอาวาสใหญ่ กรุนาตาคำ กรุป่ามืด กรุวัดกะโลทัย กรุตาพุ่ม กรุวัดพระแก้ว กรุสี่อิริยาบถ ฯลฯ
เรื่องของ พุทธคุณ ถือได้ว่ายอดเยี่ยมมาก ส่วนเรื่องราคาในการหาเช่าบูชายังไม่สูงมากนัก
การที่ พระนางกำแพง มีจำนวนสร้างมาก นอกจากจะเป็นพิมพ์นิยมทั้งในอดีตและปัจจุบันแล้ว ก็อาจจะเป็นเพราะว่า เป็นพระพิมพ์พระเครื่องสกุลกษัตริย์
ทั้งนี้เนื่องจาก วัดบรมธาตุ อันเป็นวัดที่พบพระนางกำแพงพิมพ์ต่างๆ ในกรุพระเจดีย์ ๓ องค์พี่น้อง เป็นวัดที่ศิลาจารึกนครซุ้ม ระบุว่า พระมหาธรรมราชาลิไท เป็นผู้ทรงสร้างขึ้นอย่างชัดเจน
เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้สร้าง ก็ย่อมจะมีทวยราษฎร์ทุกระดับชั้นเข้าร่วมทำบุญทำกุศลด้วยวิธีการต่างๆ เป็นเรื่องปกติธรรมดา ในวิถีชีวิตแบบไทยๆ ของแคว้นสุโขทัย
เพราะฉะนั้น พระพิมพ์พระเครื่องในกรุเจดีย์ ๓ องค์พี่น้องของวัดพระบรมธาตุ ย่อมจะยึดถือได้ว่า เป็นพระพิมพ์จากกรุในเจดีย์ของวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง จึงสมควรยกย่องให้เป็นพระพิมพ์พระเครื่องสกุลกษัตริย์
พุทธลักษณะของพระนางกำแพง ค่อนข้างจะแข็งกระด้างหน่อยๆ เมื่อเปรียบเทียบกับพระพุทธรูปสุโขทัย หมวดสุโขทัยบริสุทธิ์ รูปแบบพระพักตร์เกือบกลม แต่ตรงพระอุษณีสะ (พระขมับ) จะโป่งออกมาคล้ายพระเศียรของพระพุทธรูปขอม ดูเผินๆ เหมือนสวมหมวกชีโบของพระร่วงยืนและพระร่วงนั่งแต่ไม่ใช่ บางองค์ทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน ยังเห็นไรพระศกแบบกรีดลึกและเม็ดพระศกเล็กๆ พระอังสะกว้างแต่ไม่เห็นพระศอ ดินที่สร้างละเอียดมาก คงสึกกร่อนออกไปบ้าง ถึงกระนั้นก็ยังมีหลายองค์ทั้งพิมพ์ตื้นและพิมพ์ลึก กลับเห็นรายละเอียดบนพระพักตร์ค่อนข้างชัดเจน นอกจากพระกรรณที่เห็นเส้นแสดงพระพรรณเป็นทิวรางๆ วิ่งลงมาจรดพระอังสะ นักพุทธศิลป์บางท่านเห็นเกศเป็นแบบเกศบัวตูม ความจริงเป็นเกศกรวยยาว แตะยอดจั่วของพิมพ์ทรงรูปสามเหลี่ยม เดิมคงแหลม ที่ปรากฏส่วนมากยอดจั่วจะหักบิ่นเล็กน้อย