สถิติ
เปิดเว็บ | 25/05/2011 |
อัพเดท | 22/04/2017 |
ผู้เข้าชม | 3,076,723 |
เปิดเพจ | 4,335,359 |
สินค้าทั้งหมด | 127 |
บริการ
-
หน้าหลัก
-
รวมพระทุกหมวด
-
พระศึกษาและสะสม
-
พระสมเด็จวัดระฆัง
-
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
-
พระสมเด็จวัดเกศไชโย
-
พระซุ้มกอ
-
พระรอด
-
พระนางพญา
-
พระผงสุพรรณ
-
พระกรุเนื้อดิน-ผง-ว่าน
-
พระกรุเนื้อชิน
-
รายการวัตถุมงคล
-
พระกรุ พระเครื่อง โบราณ
-
วัตถุมงคลรุ่นแรก เก่าหายาก
-
วัตถุมงคล ออกใหม่
-
ตารางกิจนิมนต์
-
กำหนดการณ์ งานพิธีวัดไทรย้อย
-
โครงการต่างๆ ของวัด
-
แกลลอรี่รูปภาพ
-
เว็บบอร์ด
-
ติดต่อเรา
พระเดี่ยวแดง กรุวัดใหญ่ ท่าวุ้ง ลพบุรี
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
S-186
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
11/06/2011 00:00
-
ความนิยม
-
รายละเอียดสินค้า
พระเดี่ยวแดง กรุวัดใหญ่ อ.ท่าวุ้ง ลพบุรี - เนื้อดินเผาวรรณะแดงอมส้ม หน้า+หลัง ขอบข้างดูง่าย
แม้พระพักตร์องค์พระจะสึกและบี้ไปนิด แต่สภาพโดยรวมถือว่ายังคงสวยสมบูรณ์อยู่
"เดี่ยวดำ-เดี่ยวแดง" เป็นพระเครื่องเก่าแก่ อันทรงพุทธาคมเข้มขลัง โดยเฉพาะด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เป็นที่ปรากฏ ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในขุนศึกของลพบุรีเลยทีเดียว
พระเดี่ยวดำ-เดี่ยวแดงเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา มีกำเนิดครั้งแรกที่ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี มีตำนานเล่าขานสืบกันมาว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.2485 มีพรานล่าสัตว์ผู้หนึ่งได้ไปเห็นเหยี่ยวแดงเกาะที่ต้นสำโรงต้นหนึ่งในบริเวณวัดใหญ่ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี จึงเล็งปืนไปหมายยิงเจ้าเหยี่ยวแดงตัวนั้น แต่ยิงเท่าไหร่กระสุนก็ขัดลำยิงไม่ออกทุกครั้ง จึงลองหันกระ บอกปืนไปทางอื่นปรากฏว่ายิงออก พอหันไปทางต้นไม้ก็ยิงไม่ออกอีก เมื่อมองไปที่ต้นสำโรงปรากฏว่าที่โคนต้นมีฐานพระเจดีย์เก่าอยู่องค์หนึ่ง จึงไปบอกเล่าเก้าสิบต่อๆ กันว่าต้องมีของดีอยู่เป็นแน่แท้ ในที่สุดก็มีการขุดกรุพระเจดีย์ขึ้น ปรากฏพระเครื่องขนาดเล็กจำนวนมากบรรจุอยู่ ดูจากเนื้อขององค์พระนับเป็นพระที่มีอายุเก่าแก่มาก และมีพุทธลักษณะงดงามเป็นเอกลักษณ์ มี 2 สี คือ สีดำและสีแดง จึงรู้ว่าสาเหตุที่ยิงปืนไม่ออกเพราะพระที่พบนั่นเอง ในครั้งนั้นจึงตั้งชื่อพระว่า "พระเหยี่ยวดำ เหยี่ยวแดง" แต่ต่อมาอาจเห็นว่าชื่อไม่เหมาะสม หรืออาจเรียกเพี้ยนกันไปเป็น "พระเดี่ยวดำ-เดี่ยวแดง"
พระเดี่ยวดำ-เดี่ยวแดง ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระเนื้อดินเผาที่มีทั้งเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ ดังนั้น สีสันวรรณะจึงอาจแตกต่างกันตามความร้อนที่ได้รับ หากออกไปทางสีแดงก็จะเรียกว่า "พระเดี่ยวแดง" ถ้าออกไปทางสีคล้ำก็จะเรียกว่า "พระเดี่ยวดำ" แต่ก็ยังปรากฏสีอื่นๆ อีก เช่น สีมอยด์ สีพิกุลแห้ง สีเหลือง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบที่เป็นพระเนื้อชินเงิน เนื้อตะกั่วสนิมแดง และเนื้อสัมฤทธิ์ ซึ่งพบน้อยมาก
ลักษณะพิมพ์ทรงของพระเดี่ยวดำ-เดี่ยวแดง เป็นรูปสามเหลี่ยมชะลูด การตัดขอบบางองค์ตัดกว้างจนเห็นขอบปีก บางองค์ก็ตัดขอบตามรูปองค์พระ พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ อยู่เหนืออาสนะฐานบัว 2 ชั้น พระเศียรเป็นแบบเศียรทุย เม็ดพระศกเป็นวงกลม พระเกศเป็นมุ่นเมาลี 2 ชั้น เส้นกรอบไรพระศกยาวจดพระกรรณทั้ง 2 ข้าง พระเนตรลึก ดวงพระเนตรนูนและยาวเรียวเหมือนตาแบบจีน ยาวเกือบจดพระกรรณ อันเป็นเอกลักษณ์สำคัญประการหนึ่ง พระนาสิกโด่งเป็นสัน พระโอษฐ์หนาใหญ่ พระกรรณข้างขวายาวแนบกรอบพระพักตร์เกือบจดพระอังสา ส่วนข้างซ้ายยาวจดพระอังสาพอดี
ลำพระองค์ล่ำสัน พระอุระนูน ปรากฏเส้นสังฆาฏิและเส้นอังสะเป็นเส้นนูนเล็ก ปลายสังฆาฏิแตกเป็น "ปากตะขาบ" แบบพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย และมีเส้นนูนขวางที่ปลายเส้นสังฆาฏิ 2 เส้น
พระเดี่ยวดำ-เดี่ยวแดง สามารถแบ่งแยกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก โดยพิจารณาจากฐานบัว ถ้าเป็น "พิมพ์ใหญ่" ฐานบัวจะมี 7 กลีบ ส่วน "พิมพ์เล็ก" ฐานบัวจะมี 5 กลีบ
นอกจากจะพบที่กรุวัดใหญ่ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี แล้ว ยังมีการขุดค้นพบที่วัดอื่นๆ ของลพบุรี คือ วัดบันไดอิฐ และวัดหัวเขา อีกทั้งตามจังหวัดซึ่งเป็นเขตติดต่อ อาทิ วัดไผ่ขาด, วัดไผ่ดำ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี และที่วัดโพธิ์นางดำ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ครับผม