สถิติ
เปิดเว็บ | 25/05/2011 |
อัพเดท | 22/04/2017 |
ผู้เข้าชม | 3,824,204 |
เปิดเพจ | 5,129,243 |
สินค้าทั้งหมด | 127 |
บริการ
-
หน้าหลัก
-
รวมพระทุกหมวด
-
พระศึกษาและสะสม
-
พระสมเด็จวัดระฆัง
-
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
-
พระสมเด็จวัดเกศไชโย
-
พระซุ้มกอ
-
พระรอด
-
พระนางพญา
-
พระผงสุพรรณ
-
พระกรุเนื้อดิน-ผง-ว่าน
-
พระกรุเนื้อชิน
-
รายการวัตถุมงคล
-
พระกรุ พระเครื่อง โบราณ
-
วัตถุมงคลรุ่นแรก เก่าหายาก
-
วัตถุมงคล ออกใหม่
-
ตารางกิจนิมนต์
-
กำหนดการณ์ งานพิธีวัดไทรย้อย
-
โครงการต่างๆ ของวัด
-
แกลลอรี่รูปภาพ
-
เว็บบอร์ด
-
ติดต่อเรา
พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
S-183
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
11/06/2011 00:00
-
ความนิยม
-
รายละเอียดสินค้า
พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล - เนื้อดิน หน้า+หลัง สภาพพอสวย ดูง่าย
วัดใหญ่ชัยมงคลเดิมชื่อวัดป่าแก้ว เป็นพระอารามหลวงซึ่งพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างไว้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1900 และต่อมาในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระมหาอุปราช และทรงได้รับชัยชนะ เมื่อพระองค์เสด็จกลับมายังกรุงศรีอยุธยาแล้ว จึงได้ทรงสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้นที่วัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นวัดที่จำพรรษาของสมเด็จพระนพรัตน์ พระเถระผู้ยิ่งใหญ่และได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามครั้งนั้น
ในการนั้นได้มีการสร้างพระเครื่องบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ด้วย พระที่สร้างบรรจุไว้นั้นประธานพิธีฝ่ายสงฆ์ก็คือสมเด็จพระนพรัตน์ และพิธีในครั้งนั้นต้องยิ่งใหญ่มากด้วยเช่นกัน พระที่พบในครั้งหลังมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ แต่พระขุนแผนเคลือบนั้นกลับพบได้น้อยมาก สันนิษฐานว่าคงจะสร้างประดับติดไว้รอบๆ ด้านในขององค์พระเจดีย์ และเมื่อผ่านกาลเวลามาเนิ่นนาน จึงทำให้พระขุนแผนเคลือบที่ติดอยู่กับผนังเจดีย์เกิดร่วงหล่นลงมา พระส่วนใหญ่จึงแตกหักชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่คงเหลือที่สมบูรณ์จำนวนไม่มากนัก ทำให้ปัจจุบันหาได้ยากมากและสนนราคาสูงถึงหลักล้านเลยทีเดียวครับ
พระขุนแผนเคลือบนั้นเท่าที่พบมีอยู่ด้วยสองพิมพ์ทรงคือพิมพ์อกใหญ่ ลักษณะคล้ายกันมากกับพระขุนแผนของกรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี และพิมพ์อกเล็กหรือพิมพ์แขนอ่อน ซึ่งเป็นเนื้อกระเบื้องเคลือบเช่นเดียวกับพิมพ์อกใหญ่ ทั้งสองพิมพ์เป็นพระที่หายากและราคาสูงทั้งสองพิมพ์นอกจากนี้ภายในกรุนี้ยัง พบพระเครื่องอีกหลายพิมพ์ ทั้งพระขุนแผนเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระขุนแผนในพุทราเนื้อชินเงิน พระขุนแผนใบพุทราเนื้อดินอีกด้วย
พระขุนแผนใบพุทรานี้เป็นพระที่พบขึ้นจากกรุพร้อมกับพระขุนแผนเคลือบ โดยพบครั้งแรกในปีพ.ศ. 2445 ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ก็ยังมีพบอีกครั้ง และพบจำนวนมากกว่าพระขุนแผนเคลือบ สนนราคาจึงยังไม่แพงมากนัก และเป็นพระเครื่องที่น่าสนใจมากเนื่องจากสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กับพระขุนแผนเคลือบ พระขุนแผนใบพุทราเนื้อดินถ้าดูจากรูปพรรณสัณฐานโดยรวมแล้วก็มนๆ กลมๆ คล้ายกับใบพุทราจริงๆ ลักษณะองค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานบัวสองชั้นใต้ฐานมีแท่งนูนคล้ายเป็นก้านของดอกบัว ที่พระเศียรมีประภามณฑลโดยรอบ เท่าที่พบมีทั้งชนิดดินละเอียดและเนื้อค่อนข้างหยาบ ด้านหลังมักอูมนูนน้อยๆ ส่วนพระขุนแผนใบพุทราเนื้อชินนั้นเป็นพระเนื้อชินเงิน รูปพรรณของพระโดยส่วนมากมักจะติดชิดกับองค์พระไม่มีปีกกลมมนเช่นพระเนื้อดิน สนนราคาพระเนื้อดินจะสูงกว่าพระเนื้อชินมาก พระเนื้อดินราคาจะอยู่ที่หลักหมื่นมากน้อยก็แล้วแต่ความสวยสมบูรณ์เป็นหลัก
พุทธคุณของพระขุนแผนใบพุทราก็เฉกเช่นเดียวกับพระขุนแผนเคลือบ ซึ่งเด่นทั้งทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรีเป็นเยี่ยมครับ พระขุนแผนใบพุทราตามที่ผมกล่าวมานี้จึงเป็นพระที่น่าสนใจและมีความสำคัญ เพื่อระลึกถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของชาวไทยเราถ้าหาพระขุนแผนเคลือบไว้บูชาไม่ได้ พระขุนแผนใบพุทรานี่แหละครับน่าบูชามากที่สุด