สถิติ
เปิดเว็บ | 25/05/2011 |
อัพเดท | 22/04/2017 |
ผู้เข้าชม | 3,076,736 |
เปิดเพจ | 4,335,373 |
สินค้าทั้งหมด | 127 |
บริการ
-
หน้าหลัก
-
รวมพระทุกหมวด
-
พระศึกษาและสะสม
-
พระสมเด็จวัดระฆัง
-
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
-
พระสมเด็จวัดเกศไชโย
-
พระซุ้มกอ
-
พระรอด
-
พระนางพญา
-
พระผงสุพรรณ
-
พระกรุเนื้อดิน-ผง-ว่าน
-
พระกรุเนื้อชิน
-
รายการวัตถุมงคล
-
พระกรุ พระเครื่อง โบราณ
-
วัตถุมงคลรุ่นแรก เก่าหายาก
-
วัตถุมงคล ออกใหม่
-
ตารางกิจนิมนต์
-
กำหนดการณ์ งานพิธีวัดไทรย้อย
-
โครงการต่างๆ ของวัด
-
แกลลอรี่รูปภาพ
-
เว็บบอร์ด
-
ติดต่อเรา
พระกำแพงสิบ เนื้อว่าน
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
S-142
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
29/12/2011 17:05
-
ความนิยม
-
รายละเอียดสินค้า
พระกำแพงสิบ เนื้อว่าน - กรุลานทุ่งเศรษฐี จ.กำแพงเพชร
จัดเป็นพระเนื้อว่านอีกประเภทหนึ่ง ที่ซึ่งจะหาพระเนื้อว่านแท้ๆ ดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน
ยิ่งเนื้อว่านจาก ลานทุ่งเศรษฐี ด้วยแล้ว นับว่าขุดพบได้ไม่มากและมีให้ดูให้กันชมได้น้อยเต็มทีแล้ว
******************************************************
ว่ ตำราพิชัยสงครามทุกเล่มระบุว่าว่าน คือสุดยอดคงกระพัน โดยธรรมชาติ นักรบโบราณนิยมการอาบว่าน เคี้ยวว่าน โบราณจารย์ในอดีตล้วน ปลูกว่าน เลี้ยงว่าน เพื่อนำมาใช้ประโยชน์
พระเครื่องเนื่อดิน เนื้อผงล้วนมีส่วนผสมสำคัญคือว่าน การเปิดกรุที่สุโขทัย วัดตาเถรขึงหนัง กลิ่นหอบตลบของว่านเสน่ห์จันทร์ที่ยังคงกำซาบซ่านมาจนทุกวันนี้ ภาคเหนือที่ดอยคำจังหวัดเชียงใหม่เจดีย์ถล่มทลายพบพระพิมพ์สามหอมที่ผสมด้วยว่านหอมของภาคเหนือเป็นสำคัญ
คนไทยที่เป็นนักสู้อยู่บนหลังม้า หรือถือดาบอยู่บนดินต่างชำระร่างกายด้วยว่าน เคี้ยวว่าน หรือสวมใส่ผ้าประเจียดและรัดแขนด้วนว่านเช่นกัน
พระว่านที่พบนั้นแบ่งโดยลักษณะทางกายภาพสามารถแบ่งได้ดังนี้คือ
พระว่านหน้าทอง
พระว่านหน้าเงิน
พระว่านหน้านาค
พระว่านทั้งองค์
พระว่านในสมัยโบราณนั้นผสมว่านกว่าเก้าสิบเปอร์เซ็นต์สมัยนี้อาจน้อยกว่ามากเนื่องจากว่านหายากขึ้น การสลายตัวของความเชื่อและความรู้ สึกศรัทธาในว่านนั้นเกิดจากการที่มีผู้ที่รู้ไม่จริงและอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง วิเศษเลิศล้ำจนเกินเหตุ ผู้คนรุ่นใหม่จึงท้อแท้ไม่รู้จะเชื่อใครดี อ่านเวปผมข้อเขียนผมแล้วอย่าเชื่อทันทีครับ อ่านแล้วคิดตามแล้วค่อยเชื่อ เนื่อจากความเชื่อที่เกิดจากความเข้าใจนั้น ย่อมแน่นหนักลึกล้ำ มิคลอนคลาย
ในยุคที่บ้านเมือเป็นป่าดงดิบดงดำนั้นความเร้นลับของธรรมชาติยังครอบงำอยู่ในจิตใจคน ว่านยังเป็นเอกห่งความเร้นลับ ว่านบางชนิดเมื่อออกดอกกลิ่นของมันทำให้สัตว์ป่าไม่กล้าเข้าไกล้ เช่นว่านนาคราชเป็นต้น ใข้ป่าบางส่วนเกิดจากพิษของว่าน หรือดอกว่าน เช่น ว่านกระสือ ว่านผีโพง ว่านกระดูกผีเป็นต้น ว่านกระสือนั้นถือเป็นสุดยอดของความเร้นลับในป่าดงดิบ เมื่อหัวว่านแก่จัดจะเกิดแสงเรืองรองรอบๆ กอว่าน ทำให้เกิดตำนานผีกระสือ พระหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ปัตตานีนั้นสร้างจากว่านสดๆ ผสมดินขี้ค้างคาวที่เรียกว่าดินกากยักษ์เนื้อพระจึงไม่แห้งเหมือนไม้ว่านแห้ง ออกสีเขียว เทา ดำ ตามส่วนผสม ครับเนื่องจากพระว่านตามตำราเดิมนั้นปรากฎเป็นสีเหมือนเนื้อไม้แห้ง
หากว่านนั้นมีความสดจะออกสีเขียวหรือเทา จากประวัติศาสตร์นั้นพระเนื้อว่านนั้นสร้างมานานมากอาจก่อนยุคสุโขทัยด้วยซ้ำไปดังที่เห็นหน้าตามากมายในวงการคือพระว่านหน้าทอง สุโขทัย เช่านปางเปิดโลก ปางประทานพร สุดยอดของพระว่านที่พบมากที่สุดคือวัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม เมื่อครั้งที่กรมศิลปากรณ์ไปบูรณะคราที่พระธาตุล้มเมื่อปี 11 สิงหาคม พศ 2518ครั้งนั้น มรว คึกฤทธิ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี นอกจากข้าวของล้ำค่าเป็นทองคำ เงินนาค ที่มากที่สุดคือพระเนื้อว่าน หน้าเงิน หน้าทองอีกมาก มากสุดคือพระเนื้อว่านล้วน ว่านนี้เรียกว่าว่านจำปาศักดิ์
ลองมาดูกันเรื่องว่านก่อนดีกว่าครับ "ว่าน" เป็นคำที่ใช้เรียกนำหน้าชื่อต้นไม้โดยเฉพาะต้นไม้ที่ใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรและไม้ประดับบางชนิด ว่านหลายชนิดถูกเรียกว่า "ว่าน" จนติดปากและเป็นที่รู้จักกันมาแต่โบราณ จากการสืบค้นพบว่ามีการกล่าวถึงว่านในหนังสือตำรายาไทยชื่อ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ รวบรวมโดย พระยาพิศประสาทเวช ในปี พ.ศ. 2452 และ หนังสือชื่อ แพทย์ตำบล เล่ม1 รวบรวมจัดพิมพ์โดย พระยาแพทย์พงศา วิสุธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) ต้นตระกูลสุนทรเวช ในปี พ.ศ.2464 หนังสือทั้งสองเล่มกล่าวถึงว่าน 5 ชนิดเท่านั้นคือ ว่านกีบแรด ว่านนางคำ ว่านหางช้าง ว่านน้ำ ว่านเปราะ
หลังจากปี พ.ศ. 2464 เป็นต้นมา ว่านจึงเริ่มเป็นที่แพร่หลาย มีตำราที่กล่าวถึงลักษณะว่าน ตำราที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับว่าน ใน ปี พ.ศ. 2476 หลวงประพัฒน์สรรพากร รวบรวมหนังสือชื่อ ตำรากระบิลว่าน จนเป็นที่ยอมรับในหมู่นักเล่นว่านและนับว่าเป็นตำราที่ให้ความรู้เรื่องว่านอย่างสมบูรณ์ที่สุด แม้ราชบัณฑิตสถานยังยอมรับและใช้เป็นหนังสืออ้างอิงในการชำระพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน โดยนิยามไว้ว่า "ว่าน คือพืชที่มีหัวบ้าง ที่ไม่มีหัวบ้าง ใช้เป็นยาบ้าง ใช้อยู่ยงคงกระพันบ้าง" เห็นได้ว่าความหมายตามพจนานุกรม ว่านคือพืชที่มีหัวหรือไม่มีหัวก็ได้ บางชนิดปลูกเพื่อใช้เป็นยาสมุนไพร เป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันอันตราย พิษสัตว์กัดต่อย ยาเบื่อเมา ยาสั่ง ยาเสพติด สามารถดับพิษร้ายให้หายได้ ว่านแต่ละชนิดมีคุณานุภาพบันดาลให้เกิดผล เกิดโชคลาภ ทำมาค้าขึ้น เงินทองไหลมาเทมา มีคนเคารพนับถือ มีความเชื่อกันว่าการปลูกเลี้ยงว่าน ถ้าทำให้ถูกต้องตามพิธีการ ให้ความสำคัญว่าว่านเป็นของศักสิทธิ์มีอิทธิฤทธิ์ ก็ต้องมีพิธีมากกว่าการปลูกเลี้ยงธรรมดา เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ปลูกเลี้ยงและเป็นการเพิ่มฤทธิ์ธานุภาพให้แก่ว่าน เช่น เวลารดน้ำต้องเศกคาถากำกับเป็นบทเป็นตอนต่างกันไป สามจบ เจ็ดจบหรือตามอายุของผู้ปลูกเลี้ยงแล้วแต่ชนิดของว่าน การขุดก็ต้องทำในวัน เดือน ต่างๆ กัน ทั้งข้างขึ้น ข้างแรม เช่น การขุดเก็บว่านมักเลือกวันอังคาร วันใดวันหนึ่งในดือนสิบสองหรือไม่เกินวันพุธข้างขึ้นของเดือนอ้าย เวลาขุดใช้มือตบดินใกล้กอว่านหรือต้นว่าน แล้วเศกคาถาเรียกว่านไปตบดินไปจนจบคาถา จึงคอยขุดนำหัวว่านขึ้นมา
นับจาก พ.ศ. 2484 ความนิยมว่านก็ค่อยๆ ห่างหายไป จนกระทั่ง พ.ศ. 2500 ความนิยมว่านให้ความสำคัญกับว่านกลับมาอีกครั้งหนึ่ง มีการรวบรวมจัดพิมพ์หนังสือว่านขึ้นมาอีกหลายฉบับ โดยเฉพาะหนังสือ ว่านกับคุณลักษณะ รวบรวมโดย นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ จัดพิมพ์จัดจำหน่ายในนามของ สมาคมพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมจากนักเล่นว่านมาก
ปัจจุบันผู้ที่ให้ความสนใจว่านไม่เพียงชื่นชอบเหมือนผู้เลี้ยงว่านในสมัยก่อนเท่านั้น แต่ยังให้ความสนใจในเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในด้านอื่นๆ หลายรูปแบบ รวมทั้งการสนใจว่านในเชิงพฤกษาศาสตร์ ซึ่งมีการจัดแบ่งว่านได้ถึง 34 วงศ์ (Family) 512 สกุล (Genus) และ กว่า 1700 พันธุ์ (Species) มีทั้งว่านที่ให้ประโยชน์ทางยาสมุนไพรรักษาโรค ว่านที่มีชื่อเป็นมงคลนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ซึ่งมีความเชื่อว่าว่านเหล่านี้เมื่อปลูกเลี้ยงแล้วจะส่งผลให้ทำมาค้าขึ้น นำโชคลาภวาสนา มาสู่ผู้ปลูกเลี้ยง เช่นว่านที่เว็บไซท์ ๑๐๘ พรรณไม้ไทย นำเสนอนี้เป็นเพียงบางส่วนของว่านที่เป็นมงคลนาม มีความสวยงาม และเป็นที่นิยมของผู้ปลูกเลี้ยงทั่วไป
ชนิดของว่านที่มักนำมาสร้างเป็นองค์พระ และวัสดุอาถรรณ์
กระแจะจันทน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ -
ชื่ออื่นๆ -
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก หัวเป็นแง่ง ลักษณะกลมยาว ออกติดต่อกันกระจายคล้ายดั่วหวีกล้วยแจกลูกกล้วย เนื้อในของแง่งสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมฉุนรุนแรงมาก ใบและลำต้นคล้ายเปราะหอม ก้านใบสั้นหรือยาวประมาณ 3-4 ซม. ด้านในเป็นร่องกว้าง ด้านนอกกลมนูน ใบรูปกลมรีแข็งแรงและใหญ่กว่าใบเปราะ ขนาดกว้าง 8-10 ซม. ยาว 10-12 ซม. ปลายใบมนแหลม โคนใบมน แผ่นใบอยู่ในลักษณะนอนขนานกับพื้นดิน ทางด้านบนเส้นกลางใบและเส้นใบเป็นร่อง ด้านล่างนูนเป็นสัน แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มกว่าด้านล่างขอบใบมีขลิบสีแดงทั้งด้านบนและด้านล่าง
การปลูก ใช้ดินที่สะอาด จะเป็นดินกลางแจ้ง ดินกลางนา หรือดินเผาไฟ ได้ทั้งนั้น ผสมอิฐหักทุบละเอียดรวมด้วย หรือไม่ก็เป็นผงถ่านก็ได้ ไม่ต้องใส่ปุ๋ยก็จะงอกงามดีตามธรรมชาติ หากปลูกลงกระถางให้ใช้กระถางทรงเตี้ยใบใหญ่ใส่ดิน สามในสี่ของกระถาง เพื่อใบจะได้โผล่ออกมาที่ปากกระถางเสมอกันพอดี
การขยายพันธุ์ โดยการแยกหน่อ
ความเป็นมงคล ปลูกไว้เป็นเมตตามหานิยมในการเข้าหาผู้ใหญ่ ให้เกิดความเมตตาสงสารเมื่อไปขอความช่วยเหลือให้ทำการใดๆ และใช้ในการทำเสน่ห์จะมีอานุภาพมากในทางการค้าขาย นักขายเร่มักพกติดตัวไว้ เพราะเป็นเสน่ห์ทั้งตนเองและสินค้าที่นำไปขาย เข้าหาใครไม่มีใครรังเกียจ มีแต่ให้การต้อนรับเจรจาความด้วยดีทำให้ขายได้ มีกำไรดี เป็นว่านที่มีกลิ่นหอมแรงมาก จึงนิยมนำว่านนี้มาบดละเอียด แล้วคลุกเข้าด้วยกันกับแป้งหอมหรือเครื่องหอมต่างๆ เป็นเครื่องสำอางมาตั้งแต่สมัยโบราณมหาเมฆ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma acruginosa roxb.
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ -
ชื่ออื่นๆ -
ลักษณะทั่วไป เป็นว่านที่มีหัวคล้ายหัวขิงหรือหัวไพล เนื้อในสีเขียวอ่อน หรือสีม่วงแก่ปนสีฟ้า ส่วนลำต้นจะเป็นสีแดงเข้มหรือสีแดงเลือดหมู ใบสีเขียวแกนกลางใบออกสีเลือดหมูผ่ากลางไปตลอดจนถึงปลายใบซึ่งมีลักษณะแหลม โคนใบรีและจะมนเข้าหาก้านใบ ขอบใบบิดเป็นคลื่นเล็กน้อย และมีกาบใบห่อหุ้มลำต้นอยู่
การปลูก ควรปลูกในดินร่วนปนทรายผสมดินลูกรังแดง วางให้หัวว่านโผล่พ้นดินขึ้นมาเล็กน้อย เป็นว่านที่ออกจะชอบแสงแดดสักหน่อย จึงควรให้อยู่กลางแจ้ง
การขยายพันธุ์ โดยการแยกหน่อ
ความเป็นมงคล เชื่อกันว่าหากเกิดจันทรุปราคา ให้นำหัวมาปลุกเสกด้วยคาถา เสกจนพระจันทร์มืดมิด แล้วนำหัวว่านมาทาบตัวจะทำให้ผู้อื่นมองไม่เห็นตัวเรา และปรารถนาสิ่งใดก็จะสมใจปรารถนา และหากรับประทานหัวก็จะเป็นคงกระพันชาตรีมหาหงส์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hedychium coronarium.
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ -
ชื่ออื่นๆ ว่านกระชายเห็น
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นเง้าอยู่ใต้ดิน คล้ายแง่งข่า มีลำต้นเหนือดิน เป็นกาบใบที่ซ้อนกันอยู่หลายๆ กาบ ใบมีลักษณะเป็นรูปใบพาย ปลายใบแหลม โคนใบมน พื้นใบสีเขียว ก้านใบกลม แข็ง และสั้น ออกดอกเป็นช่อตั้งขึ้นอยู่ปลายยอด มีกลิ่นหอม เมื่อดอกใกล้โรยจะมีสีแดง
การปลูก ให้ปลูกในดินร่วนหรือดินบนทราย ชอบแดดรำไร น้ำปานกลาง ควรรดด้วยน้ำทุกเช้า–เย็น หากปลูกใส่กระถางก้นตื้น ปากกว้าง จะแตกหัวใหม่ได้รวดเร็ว
การขยายพันธุ์ โดยการแยกหน่อ
ความเป็นมงคล มีอานุภาพด้านเมตตามหานิยม เมื่อปลูกเลี้ยงไว้จะทำให้เป็นที่เมตตาของผู้คน และผู้เลี้ยงจะได้รับโชคลาภอยู่เสมอมหาเสน่ห์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma spp.
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ -
ชื่ออื่นๆ ว่านดอกทอง
ลักษณะทั่วไป ลักษณะเป็นว่านมีหัว รากเป็นเส้นใหญ่ไม่แตกรากฝอย ลำต้นและใบเหมือนขมิ้น ลำต้นประกอบด้วยกาบของก้านใบหลายกาบซ้อนกัน ใบรูปใบพาย ปลายใบแหลมโคนใบมนสอบติดก้านใบ พื้นใบสีเขียว เส้นกลางใบสีแดงเข้มหรือแดงเลือดหมู ส่วนที่เห็นเป็นลำต้นเหนือดินสีแดงเข้มเช่นกัน ลำต้นส่วนที่ฝังอยู่ในดินและหัวเป็นสีขาวหรือขาวอมเขียว รากเป็นสีน้ำตาล ช่อดอกเป็นกาบเรียวซ้อนสับขวางกันหลายๆ กาบ กาบใบแต่ละกาบมีดอกสีเหลืองทองขนาดเล็ก กลิ่นหอมเย็น
การปลูก ควรปลูกว่านด้วยดินปนทรายรดน้ำมากๆ แต่ระวังอย่าให้ดินแฉะ ควรจัดวางให้ได้รับแสงแดดรำไรบ้างพอสมควร
การขยายพันธุ์ โดยการแยกหน่อ
ความเป็นมงคล สรรพคุณใช้ทางเสน่ห์มหานิยมแก่ผู้ปลูก แต่ไม่นิยมให้มีดอกติดต้นถึงบาน มักจะเก็บดอกเสียก่อนก่อนที่ดอกจะบาน เพราะเชื่อกันว่าหากผู้ใดได้กลิ่นดอกว่านต้นนี้แล้วกามราคะในจิตจะกำเริบรุนแรงโดยเฉพาะสตรีเพศ จึงมีชื่อเรียกว่านต้นนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ว่านดอกทอง ดอกของว่านคนหนุ่มสมัยโบราณจึงเสาะแสวงหาเก็บสะสมไว้หุงกับน้ำมันจันทน์ หรือบดรวมกับสีผึ้งสีปาก ใช้น้ำมันทาตัว หรือใช้สีผึ้งสีปาก เมื่อถึงคราวจะต้องไปพบหญิงสาว สตรีใดต่อคารมด้วย พอได้กลิ่นว่านในน้ำมันหรือสีผึ้ง มักใจอ่อนคล้อยตามได้ง่ายนับเป็นว่านที่เป็นเสน่ห์มหานิยมที่รุนแรงมากมหานิยม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia gibertii.
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ -
ชื่ออื่นๆ -
ลักษณะทั่วไป ว่านมหานิยมเป็นว่านที่มีหัวขนาดเล็กและกลมอยู่ใต้ดิน หัวคล้ายว่านมหากาฬ และคล้ายหัวกระชาย ซึ่งทั้งใบและหัวใช้ปรุงอาหารได้ ใบมีลักษณะคล้ายหูม้า มีขนาดเล็กแต่หนา ก้านใบเป็นก้านสั้นๆ แล้วค่อยๆ ผายออกเป็นใบ ปลายใบแหลม ริมใบยกและบิดพื้นใบสีเขียว
การปลูก ว่านมหานิยมเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินปนทราย และได้รับน้ำเช้าเย็น ควรให้ว่านได้รับแสงแดดแต่เพียงรำไร หากโดนแดดจัดๆ จะเฉาตายได้ง่าย
การขยายพันธุ์ โดยการแยกหน่อ
ความเป็นมงคล ว่านนี้เชื่อถือว่าเป็นว่านทางเสน่ห์เมตตามหานิยม หากนำหัวว่านไปรับประทานจะทำให้เป็นคงกระพันชาตรีกล่าวกันว่าท่านขุนแผนและเหล่าทหารหาญโบราณมักเคี้ยวและอาบว่านชนิดนี้พญามือเหล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia sandrerae
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ Variegated Ginger
ชื่ออื่นๆ ขิงด่าง
ลักษณะทั่วไป ว่านพญามือเหล็ก หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ขิงด่าง มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดินมีลักษณะคล้ายหัวข่ามีรสเผ็ด มีกลิ่นฉุนกว่าขิง ใบเป็นใบเดี่ยว ใบยาวคล้ายกับใบขมิ้น ปลายใบแหลมขอบใบเป็นคลื่น และมีลายสีขาวบนแผ่นใบและขอบใบ ส่วนที่เห็นเป็นลำต้นเหนือดิน คือส่วนของกาบใบที่เรียงตัวซ้อนกันอยู่ กาบใบจะมีสีเขียว โคนกาบใบสีแดงเข้ม
การปลูก ปลูกในดินปนทรายหรือดินร่วน แต่ถ้าปลูกลงดินโดยไม่ใช้กระถางก็สามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ว่านจะแตกหน่อหรือแง่งเร็วกว่าการปลูกในกระถาง พรวนดิน แยกแง่งออกปลูกใหม่เป็นระยะๆ เวลาปลูกให้กลบดินให้เหลือหัวว่านโผล่ขึ้นมาเล็กน้อย แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
การขยายพันธุ์ โดยการแยกหน่อหรือแยกแง่งของว่านมาปลูกใหม่
ความเป็นมงคล เป็นว่านสิริมงคล เหมาะที่จะปลูกเลี้ยงไว้ในบริเวณบ้านเป็นว่านที่สามารถป้องกันอันตรายต่างๆ และยังเชื่อกันว่าเป็นว่านที่สามารถป้องกันภูตผีปีศาจต่างๆ ไม่ให้เข้ามาทำร้ายคนในบ้านได้ สมกับชื่อว่า “พญามือเหล็ก”ธรณีสาร
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus Pulcher Wall ex Muell Arg.
วงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ -
ชื่ออื่นๆ -
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นตรง สูงประมาณ 0.5–1 เมตร ลำต้นสีเขียว ตรงปลายยอดเป็นสีอ่อน หากต้นแก่โคนต้นจะเป็นสีน้ำตาล ใบมีลักษณะกลมเล็กคล้ายใบมะขาม ก้านใบสีเขียว ใบจะออกทั้ง 2 ข้างของก้านใบคู่กันไปจนสุดปลายก้าน ส่วนก้านใบจะแตกออกจากลำต้นโดยรอบๆ เป็นพุ่มสวยงาม
การปลูก ปลูกในดินร่วน หรือดินปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ควรปลูกหรือจัดวางกระถางในบริเวณที่ได้รับแสงแดดปานกลาง และควรรดน้ำให้ชุ่มทุก เช้า-เย็น
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดเพาะเป็นต้นกล้า แล้วจึงแยกต้นกล้าไปปลูก
ความเป็นมงคล ว่านธรณีสารเป็นว่านที่นับถือกันมาช้านาน โดยการนำไปเข้าพิธีประพรมน้ำมนต์ เพราะเชื่อกันว่าเป็นมงคล ปลูกไว้ในบริเวณบ้านแล้วจะดี และควรปลูกว่านธรณีสารในวันพฤหัสบดี ข้างขึ้นลักษณะของว่านหนุมาน
หนุมาน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Jatropha podagrica.
วงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ -
ชื่ออื่นๆ -
ลักษณะทั่วไป มีหัวป้อมกลมใต้ดิน ต้นขึ้นเป็นลำเดี่ยว มีกิ่งก้านบริเวณยอดของลำต้น ใบลักษณะคล้ายใบตำลึง แต่หนาและขนาดใหญ่กว่ามาก พื้นใบมีสีเขียวท้องใบมีขน หลังใบมีสีเขียวนวล และมีพรายปรอท เมื่อถูกแสงแดดจะเป็นเงาเหลื่อม ก้านใบและเส้นใบสีแดงเรื่อๆ ก้านดอกยาวสีแดง ลักษณะของดอกมีขนาดเล็ก ออกดอกเป็นกระจุกรวมกันเป็นช่อ สีแดง
การปลูก ว่านหนุมานจะขึ้นง่ายในดินปนทราย ชอบแดดจัด รดน้ำทุก เช้า–เย็น
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการใช้หัว
ความเป็นมงคล เมื่อขุดหัวว่านโดยเสกคาถากำกับแล้วเก็บไว้ที่สูง เมื่อจะนำมารับประทานหรือฝนทาตัวก็ต้องเสกคาถากำกับ จะทำให้เกิดอานุภาพหนังเหนียวฟันแทงไม่เข้า และถ้าเอาหัวว่านมาแกะเป็นรูปพญานาคราช และเสกคาถากำกับ เมื่อพกติดตัวจะเป็นเมตตามหานิยม หรือแกะเป็นรูปพระก็จะป้องกันภัยอันตรายทั้งหลายได้ ควรปลูกในวันพฤหัสบดีข้างขึ้น