สถิติ
เปิดเว็บ | 25/05/2011 |
อัพเดท | 22/04/2017 |
ผู้เข้าชม | 3,781,841 |
เปิดเพจ | 5,083,239 |
สินค้าทั้งหมด | 127 |
บริการ
-
หน้าหลัก
-
รวมพระทุกหมวด
-
พระศึกษาและสะสม
-
พระสมเด็จวัดระฆัง
-
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
-
พระสมเด็จวัดเกศไชโย
-
พระซุ้มกอ
-
พระรอด
-
พระนางพญา
-
พระผงสุพรรณ
-
พระกรุเนื้อดิน-ผง-ว่าน
-
พระกรุเนื้อชิน
-
รายการวัตถุมงคล
-
พระกรุ พระเครื่อง โบราณ
-
วัตถุมงคลรุ่นแรก เก่าหายาก
-
วัตถุมงคล ออกใหม่
-
ตารางกิจนิมนต์
-
กำหนดการณ์ งานพิธีวัดไทรย้อย
-
โครงการต่างๆ ของวัด
-
แกลลอรี่รูปภาพ
-
เว็บบอร์ด
-
ติดต่อเรา
พระสมเด็จวัดเกศไชโย พิมพ์ 7 ชั้น เข่ายก
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
C-002
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
14/02/2012 12:27
-
ความนิยม
-
รายละเอียดสินค้า
พระสมเด็จวัดเกศไชโย พิมพ์ 7ชั้น เข่ายก - เนื้อหนึก คราบสวย
หลังหมอน องค์พระไม่หัก-ไม่ซ่อม
*********************************
พระสมเด็จ เกศไชโย 7 ชั้นนิยม
ตำหนิเอกลักษณ์ด้านหน้า
1.พระเกศเป็นลำยาว ในพระสวยจัดๆตรงกลางโป่งออกบางๆคล้ายเปลวเทียว
2.พระพักตร์ และพระศอ คล้ายหัวไม้ขีดในองค์ชัดๆ ตรงกลางพระพักตร์ จะเห็นเป็นสันนูน
3.วงแขนหักโค้งเบาๆพองาม แลคล้ายถ้วยไวน์
4.พระอุระ + พระอุทร แลรวมๆคล้ายซี่ฟัน สังเกตให้ดี พระอุทรแลคล้ายรากฟันแต่จะไหวพริ้ว
5.กรอบกระจกด้านข้างองค์พระ โดยมากจะไม่เรียบ แต่จะเป็นแอ่งท้องช้างบางๆ
6.ใต้กรอบกระจก ในองค์ชัดๆจะเห็นเส้นทิว ยาวบางๆ 2-3 เส้น
7.การแตกลายงา จะเป็นเหลี่ยมมากกว่าการแตกยิบแบบชามสังกะโลก
ตำหนิเอกลักษณ์ด้านหลัง
1.ขอบพระโดยมากจะมน อันเนื่องจากถูกลบขอบด้วยกระดาษทราย
ไปจนกระทั่งเพื่อเข้ากรอบและอาจเนื่องมาจากสภาพล้างผิวหรือใช้ ฯลฯ
2.รอยแตกรายงามักปรากฏที่ขอบพระ
3.ผิวจะลื่นเนียน คล้ายหินสบู่ไม่สากมือ
*****************************************
วัดเกศไชโยเป็นอารามหลวงชั้นโท..ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 13 ตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง..ไม่ปรากฎว่าใครสร้าง..เหตุที่ได้ชื่อว่าวัดเกศไชโยนี้..ชาวบ้านเล่ากันว่าเจ้าประคุณสมเด็จเป็นผู้สร้างในที่ดินของโยมตา..ชื่อไชย..แล้วอุทิศส่วนกุศลให้โยมตา และมารดาชื่อเกศ..จึงตั้งชื่อวัดว่า "วัดเกศไชโย" แต่ชาวบ้านเรียกด้วยความเคยชินว่า "วัดไชโย"
พ.ศ. 2404 สมเด็จพุฒาจารย์โตมีความประสงค์สร้างพระสมเด็จเพื่อบรรจุในพระใหญ่วัดเกศไชโย แตได้พังทลายลงมาเสียก่อน
พ.ศ.2406-2407 สมเด็จพุฒาจารย์(โต)จึงสร้างพระพุทธรูปใหญ่ใหม่ และบรรจุพระสมเด็จจำนวน 84,000 องค์แแต่เนื่องจากการจัดสร้างจากเนื้องผงพระแตกร้าวซึ่งจัดสร้างจากผงพุทธคุณ 5 ชนิด และผงเกษรดอกไม้,ปูนขาว และข้าวสุก จึงเพิ่มส่วนผสม กล้วยหอมจันทน์ ,กล้วยน้ำว้า และเปลือกกล้วย เนื้อพระจึงออกมาเป็นสีเหลืองนวล และยังแตกร้าวแต่น้อยลงหลวงวิจารเจียรนัย(เฮง) ช่างหลวงในรัชกาลที่ 4 จึงถวายคำแนะนำให้ผสมสูตรน้ำมันตังอิ้วทำให้เนื้อพระไม่แตกจึงจัดสร้างตามจำนวนแต่เนื่องจากมวลสารไม่พอจึงบรรจุสมเด็จวัดระฆังลงไปด้วย
พระอุโบสถ..ได้รับการบูรณะใหม่จนเสร็จเรียบร้อยในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.2437 ลักษณะเป็นทรงไทยโบราณ มีมุขลดต่อออกมาทางด้านหน้าพระวิหาร..มีช่อฟ้าหน้าบัน..เสาพระวิหารรับเชิงชาย..ด้านหน้ามีภาพเขียนภาพจิตกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ
พระปูนปั้นสมเด็จที่สร้างที่วัดเกศไชโย
พระสมเด็จกรุนี้ ออกจะปรากฎพิมพ์ค่อนข้างแปลกพิสดาร..จะปรากฎเอกลักษณ์ให้เห็น..เส้นนูนเล็ก ๆ และอกร่อง..เป็นการแสดงออกทางศิลปะ และอารมณ์อย่างลึกซึ้ง..หมายถึงพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยา..เป็นการเตือนใจให้ทุกคนมีความเพียร..มานะบากบั่น..มุ่งมั่น..เพื่อประสพความสำเร็จ..
พระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็น 1 ใน 3 ตระกูลพระสมเด็จที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) โดยได้บรรจุไว้ในองค์พระมหาพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิฐฐานอยู่ภายในพระวิหารวัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร นั่นคือจะต้องมีลักษณะของ อกร่อง หูบายศรี มีขอบกระจก เกือบทุกพิมพ์ทรง วงการพระเครื่องในปัจจุบันให้ความนิยมเป็นอย่างสูงและจัดรวมพระสมเด็จวัดเกศ ไชโยให้อยู่ในชุด เบญจภาคี เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
วัดไชโยวรวิหารหรือวัดเกศไชโย ( ชื่อที่ปรากฏในพื้นที่คือ วัดเกศไชโย ) เป็นพระอารามหลวงชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เดิมทีเป็นวัดราษฏร์ สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาไม่มีประวัติแน่ชัดว่าใครสร้าง แต่มาปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) แห่งวัดระฆังโฆษิตารามได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้น เมื่อครั้งปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประมาณปี 2400-2405 ซึ่งขณะนั้นท่านยังดำรงสมณะศักดิ์เป็นพระเทพกวี
การที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) มาสร้าง พระหลวงพ่อโต หรือที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ภายหลังว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ขึ้นไว้ที่นี่ ก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกถึงโยมมารดาซึ่งได้ร่วงลับไปแล้วและเป็นอนุสรณ์ สถานความผูกพันในช่วงชีวิตของท่าน เนื่องจากมารดาเคยพาท่านมาพักอยู่ที่ตำบลไชโยเมื่อตอนท่านยังเล็กๆ ซึ่งตามประวัตินั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ท่านมักสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์เกี่ยวกับชีวิตของท่านไว้ตามสถานที่ต่างๆ ไว้มากมาย
ความบันทึกของพระยาทิพโกษา ( สอน โลหะนันท์ ) ได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) เป็นผู้สร้างขึ้น เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับโยมมารดาที่ชื่อ เกศ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ทรงสร้างพระพิมพ์สมเด็จ 7 ชั้น แล้วนำมาแจกรวมทั้งบรรจุกรุไว้ใน กรุวัดไชโยวิหาร ในคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดนี้ และประมาณการจากบันทึกต่างๆว่าน่าจะมีอายุการสร้างสมเด็จพิมพ์วัดเกศไชโย นั้นใกล้เคียงกับสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม
พระสมเด็จวักเกศไชโย จึงถือได้ว่าเป็นสมเด็จอีกตระกูลหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังษี ) ทั้งในด้านการปลุกเสก และบรรจุกรุ ส่วนผสมในการสร้างนั้นล้วนแล้วแต่เป็นของดีของวิเศษซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) นำมาประสมกันเป็นเนื้อพระนั้น ส่วนใหญ่ใช้สูตรเดียวกับสมเด็จวัดระฆังฯ และสมเด็จบางขุนพรหม ประกอบด้วยมวลสารหลักได้แก่ ปูนเปลือกหอย ผงวิเศษ ( ผงอิทธิเจ ผงพุทธคุณ ผงปถมัง ผงมหาราช และผงตรีนิสิงเห ) ข้าวสุก กล้วยป่า ดอกไม้แห้ง และน้ำมันตั้วอิ้ว และมวลสารอื่นๆอีกมาก
เนื้อพระสมเด็จวัดเกศไชโย อาจแบ่งได้ 3 ลักษณะคือ เนื้อนุ่ม เนื้อนุ่มปานกลาง และเนื้อแกร่ง พระเนื้อนุ่มมีมวลสารและน้ำมันตั้งอิ้วผสมอยู่มาก เรียกว่า เนื้อจัด ส่วนใหญ่มีสีขาวขุ่นอมน้ำตาล ( ไม่ใช่คราบเปลื้อนที่ผิว ) ส่วนพระเนื้อนุ่มปานกลาง มีส่วนผสมที่ได้สัดส่วนลงตัว ส่วนใหญ่สีขาวอมเหลือง และพระเนื้อแกร่ง เป็นพระเนื้อแก่ปูน ผิวแห้ง แกร่ง คล้ายเนื้อหินอ่อน มวลสารปรากฏให้เห็นในปริมาณน้อย
พระสมเด็จวัดเกศไชโยนี้ มีด้วยกันหลายพิมพ์ แต่พิมพ์ที่วงการสากลนิยมมี 3 พิมพ์ด้วยกันคือ สมเด็จพิมพ์ 7 ชั้นนิยม สมเด็จพิมพ์ 6 ชั้น และสมเด็จพิมพ์ 3 ชั้น ส่วนในด้านพุทธคุณนั้นเด่นทางด้านโชคลาภ และเมตตามหานิยม
ลักษณะพิมพ์ทรง และ พุทธศิลป์ พระสมเด็จ ปี 2406-2407
1.พิมพ์ทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยาผอมบาง..ค่อนข้างตื้น และพิมพ์ใหญ่..ทรงวัดระฆัง...บางองค์ปรากฎสารเคลือบผิว.ทอง.ชาด ,รัก หนา...
2.มีกรอบกระจกและแอ่งท้องช้าง
3. เนื้อพระ ,ปูนขาวและยังแตกร้าวแต่น้อยลงหลวงวิจารเจียรนัย(เฮง) ช่างหลวงในรัชกาลที่ 4 จึงถวายคำแนะนำให้ผสมสูตรน้ำมันตังอิ้ว ก่อนกดพิมพ์เนื้อพระเปียกละเอียด จึงปรากฎรอยเหนอะหนะให้เห็น..บางองค์ปรากฎคราบตังอิ๊วคล้ายสนิมกระป๋อง
4. มวลสารผง พุทธคุณ 5 ชนิด และผงเกษรดอกไม้,ปูนขาว และข้าวสุก จึงเพิ่มส่วนผสม กล้วยหอมจันทน์ ,กล้วยน้ำว้า และเปลือกกล้วย เนื้อพระจึงออกมาเป็นสีเหลืองนวล บางองค์ออกน้ำตาลก็มี บางองค์ถ้าพระล้างผิวก็จะออกขาวไปบ้างก็มี
5.ด้านหลังองค์พระมีทั้งปาดเรียบและแบบหลังหมอน
6.ซุ้มครอบแก้วโย้เอียง ในบางองค์
7.พื้นที่ระดับพระยังคงเป็น 3 มิติ
8.ไม่ปรากฎคราบกรุ ยกเว้นองค์ที่ฝากกรุบางขุนพรหม
พระสมเด็จเกศไชโย (ยุคแรก)
พ.ศ.2406-2407 สม เด็จพุฒาจารย์(โต)จึงสร้างพระพุทธรูปใหญ่ใหม่ และบรรจุพระสมเด็จจำนวน 84,000 องค์แแต่เนื่องจากการจัดสร้างจากเนื้องผงพระแตกร้าวซึ่งจัดสร้างจากผง พุทธคุณ 5 ชนิด และผงเกษรดอกไม้,ปูนขาว และข้าวสุก