สถิติ
เปิดเว็บ | 25/05/2011 |
อัพเดท | 22/04/2017 |
ผู้เข้าชม | 3,189,487 |
เปิดเพจ | 4,463,881 |
สินค้าทั้งหมด | 127 |
บริการ
-
หน้าหลัก
-
รวมพระทุกหมวด
-
พระศึกษาและสะสม
-
พระสมเด็จวัดระฆัง
-
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
-
พระสมเด็จวัดเกศไชโย
-
พระซุ้มกอ
-
พระรอด
-
พระนางพญา
-
พระผงสุพรรณ
-
พระกรุเนื้อดิน-ผง-ว่าน
-
พระกรุเนื้อชิน
-
รายการวัตถุมงคล
-
พระกรุ พระเครื่อง โบราณ
-
วัตถุมงคลรุ่นแรก เก่าหายาก
-
วัตถุมงคล ออกใหม่
-
ตารางกิจนิมนต์
-
กำหนดการณ์ งานพิธีวัดไทรย้อย
-
โครงการต่างๆ ของวัด
-
แกลลอรี่รูปภาพ
-
เว็บบอร์ด
-
ติดต่อเรา
พระร่วงนั่ง หลังลายผ้า กรุเก่า ลพบุรี เนื้อชินสนิมแดง
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
S-238
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
22/02/2014 10:32
-
ความนิยม
-
รายละเอียดสินค้า
พระร่วงนั่ง กรุเก่า ลพบุรี เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง
หลังลายผ้า
ผิวพรรณวรรณะออกแดงลูกหว้า ซึ่งบ่งบอกถึงอายุเนื้อตะกั่ว
ไขขาวจับเป็นฝ้าที่หน้าผิว หลังลายผ้า
รอยแตกลายใยแมงมุม (ส่องด้วยกล้องไปจนถึงตาเปล่า)
ศิลปะสกุลช่างขอมโบราณ
เป็นพระพิมพ์แสดงพระพุทธปรัชญาฝ่ายมหายานเพราะเป็นพระเครื่องราชาภรณ์
สร้างด้วยเนื้อตะกั่ว เมื่ออายุมากๆ เป็นร้อยปีขึ้นก็จะเกิดสนิมแดง
ช่างฝีมือผู้สร้างพระพิมพ์นี้คงตัดแบ่งออกมาจากพระศิลปะลพบุรีในแบบซึ่งรู้จักกันดีคือ
พระตรีกาย หรือ พระสามพี่น้อง ซึ่งเป็นปริศนาธรรมเกี่ยวกับกายทั้งสาม
ของพระพุทธเจ้า แบบมหายาน กายทั้งสามที่ว่านี้คือ ธรรมกาย หมายถึงพระธรรมคัมภีร์อันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
กายเมื่อตรัสรู้แล้วจะมีกายไปอีกแบบหนึ่งนอกเหนือจากที่เรารู้จักกันเป็นสามัญ
เรียกว่า สัมโภคกาย และ นิรมาณกาย หรือกายแห่งตนเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์
ยังมิได้สำเร็จ หรือสำเร็จแล้วในร่างของมนุษย์
*****************************************
ตัวอย่างพระร่วงนั่งกรุบ้านดงเชือก (ให้ดูลักษณะพุทธศิลป์+การเทตะกั่ว)
พระร่วงนั่ง กรุบ้านดงเชือก อ. หนองหญ้าไทร จ.สุพรรณบุรี
โดย รัตนรังษี
(ตอน 1)พระร่วงนั่งกรุดงเชือก จ.สุพรรณบุรี เป็นพระพิมพ์แสดงพระพุทธปรัชญาฝ่ายมหายานเพราะเป็นพระเครื่องราชาภรณ์ สร้างด้วยเนื้อตะกั่ว เมื่ออายุมากๆ เป็นร้อยปีขึ้นก็จะเกิดสนิมแดง ช่างฝีมือผู้สร้างพระพิมพ์นี้คงตัดแบ่งออกมาจากพระศิลปะลพบุรีในแบบซึ่งรู้จักกันดีคือ พระตรีกาย หรือ พระสามพี่น้อง ซึ่งเป็นปริศนาธรรมเกี่ยวกับกายทั้งสาม ของพระพุทธเจ้า แบบมหายาน กายทั้งสามที่ว่านี้คือ ธรรมกาย หมายถึงพระธรรมคัมภีร์อันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า กายเมื่อตรัสรู้แล้วจะมีกายไปอีกแบบหนึ่งนอกเหนือจากที่เรารู้จักกันเป็นสามัญ เรียกว่า สัมโภคกาย และ นิรมาณกาย หรือกายแห่งตนเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ยังมิได้สำเร็จ หรือสำเร็จแล้วในร่างของมนุษย์
สถานที่พบพระก็คือ กรุบ้านดงเชือก อำเภอหนองหญ้าไทร จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นพื้นที่นาที่เป็นดินทราย ปลูกข้าวขึ้นแต่ไม่ได้ผลดี บริเวณพบพระมีหินและศิลาแลง กับเศษสำริดที่ชำรุดเสียหายจากการถูกรถแทร็กเตอร์ไถคราด สภาพพระที่พบ มีที่สมบูรณ์เพียง 60-70 องค์เท่านั้นตามรายงานของนักเขียนผู้บันทึกไว้ในหนังสือพระหลายเล่มหลังจากการขุดพบครั้งแรก นับรวมกับองค์ที่ชำรุดมีไม่ถึง 200 องค์ และแน่นอน นอกจากพระร่วงยืนทรงจีโบอีก 3-4 องค์แล้ว ก็พบกระดูกผีร่วมอยู่ในกรุด้วยเช่นเดียวกับที่พบพระศิลปะแบบลพบุรีตามกรุต่างๆ ทั่วไปแทบทุกอำเภอ ตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี ก็แสดงว่าเป็นพระเครื่องอุทิศเป็นส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายที่อาจจะเป็นสมณะสงฆ์มหายานหรือไม่ก็คงจะเป็นเจ้าขุนมูลนายชนเผ่าขอม จากสถิติการค้นพบพระเครื่องพระพิมพ์ในสุสานโบราณสมัยขอมในตัวจังหวัดสุพรรณบุรีและพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดใกล้เคียงบริเวณลุ่มแม่น้ำสุพรรณบุรี เจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และลุ่มแม่น้ำแคว ไม่เคยพบว่าจะมีพระพิมพ์พระเครื่อง หรือแม้กระทั่งพระพุทธรูปหรือ เทวรูปจำนวนมากเลยแม้แต่หลุมเดียว เป็นข้อบ่งชี้ชัดเจนว่า ทฤษฎีที่ว่า การสร้างพระพิมพ์พระเครื่องอันเป็น อุทเทสิกเจดีย์ นั้น จะต้องมีจำนวน 84000 องค์ หรือ 500 เท่ากับชาติต่างๆของ พระพุทธเจ้าก่อนจะประสูติขึ้นมาเสวยชาติเป็นพระพุทธเจ้านั้น สำหรับพุทธมหายานหรือแม้กระทั่งฝ่ายหินยานที่อาจขาดปัจจัยในการสร้างพระด้วยกรณีใดๆ ก็ตามคงต้องสร้างพระเพื่ออุทิศเป็นส่วนกุศลดังกล่าวนี้เพียงเท่าที่สามารถทำได้เท่านั้น
ธรรมเนียมพิธีฌาปนกิจของพุทธศาสนิกชนพุทธมหายาน ไม่ทราบแน่ชัดว่าในสมัยสูงๆ จัดการกันอย่างไร แต่ในสมัยศรีวิชัยก็มีการสร้างพระพิมพ์ดินดิบผสมเถ้ากระดูกเป็นเครื่องอุทิศแล้ว พิจารณาดูแล้ว ยังมีรายละเอียดแตกต่างออกไปในด้านปฏิบัติพิธีกรรม เนื้อหามวลสารในการสร้างพระเครื่องอุทิศนี้ก็ไม่เหมือนกันด้วย คิดเอาเองว่า พิธีฌาปนกิจพุทธมหายาน อาจจะแบ่งทำเป็นพิธีของพระเถระมีสมณะศักดิ์อย่างหนึ่งของคนธรรมดาอย่างหนึ่ง จะเป็นไปได้หรือไม่? หรือว่าการแบ่งชั้นวรรณะ ซึ่งพบแล้วว่า ในสมัยนั้นชาวอินเดียซึ่งเป็นทั้งสมณฑูตและชนทุกชั้นยังคงยึดถือเรื่องวรรณะอยู่นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับพิธีฌาปนกิจศพหรือไม่? อย่างไรก็ตาม สุสานโบราณ กรุพระร่วงนั่ง บ้านดงเชือก พระพักตร์ค่อนข้างกลม คล้ายคลึงกับพระร่วงยืนเศียรโต กรุวัดราชเดชะ สุพรรณบุรี เนื้อตะกั่วสนิมแดงเหมือนกันแต่พุทธลักษณะโดยรวมอ่านออกด้วยว่า เป็นพระพิมพ์ผสมผสานศิลปะแบบอู่ทอง หรือไม่ก็อยู่ในยุคที่ศิลปะขอมบายนคลี่คลายเข้าร่วมกับศิลปะอโยธยา แบบที่เรารู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ศิลปะแบบอู่ทอง จึงเข้าใจเอาง่ายๆ ว่า พระร่วงนั่ง บ้านดงเชือก อายุไม่ถึงสมัยลพบุรียุคต้น แม้จะทรงเครื่องทรงราชาภรณ์ แต่การห่มจีวรในแบบห่มคลุมและห่มเฉียงในองค์เดียวกัน สอง แบบ นั้น แสดงว่าอยู่ในยุคที่พุทธมหายานกับฝ่ายหินยานปรองดองกันอยู่อย่างค่อนข้างสับสน
พุทธลักษณะโดยรวมของพระร่วงนั้น บ้านดงเชือก และพระร่วงยืนเศียรโต กรุวัดราชเดชะ มีลักษณะเป็นฝีมือชนเผ่าพื้นเมืองอยู่มาก คงถูกสร้างขึ้นในสมัยที่ผู้นำขอมสูญเสียอำนาจไปแล้ว จึงไม่น่าจะมีอายุสูงไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งเผ่าชนไต เริ่มมีอำนาจ และสร้างบ้านแปงเมือง ขยายอำนาจเข้าปกครองชนทุกเผ่าในภูมิภาคนี้ และถ้าไม่เล็งผลเลิศจนเกินไป พระร่วงนั่ง กรุดงเชือก น่าจะถูกสร้างขึ้นประมาณครึ่งหลังของพุทธศตวรรษ ที่ 18 เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ 19 ช่วงใดช่วงหนึ่ง เพราะเหตุว่า พบหลักฐานเป็นศิลปะวัตถุสมัยขอมบายนแพร่หลายเข้าไปในแคว้นสุวรรณภูมิในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-20 เป็น จำนวนมาก พระร่วงนั่ง กรุบ้านดงเชือก มิได้ยกเว้นเพราะมีไรพระศกแบบเส้นลวดวางพระกรซ้ายเป็นเส้นโค้งแบบอู่ทองโดยทั่วไปหมายความว่า ในตัวพิมพ์พระมีศิลปะขอมบายน (สมัยลพบุรี) เป็นหลักใหญ่ จึงไม่น่าจะมีอายุสูงกว่าศิลปะวัตถุ รวมทั้งพระพิมพ์ศิลปะขอมบายนที่ค้นพบดังกล่าว ซึ่งในช่วงระยะเวลาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-20 นี้ พุทธมหายานน่าจะหมดเชื้อไปแล้วเพราะฉะนั้น พระพิมพ์พุทธศิลป์แบบพระ ร่วงนั่ง กรุบ้านดงเชือก กล่าวคือ ห่มคลุมและห่มเฉียงในตัวพระพุทธเจ้าองค์เดียวกันจึงน่าจะเป็นพระพิมพ์ของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธลัทธิหินยานไปแล้วแต่การที่พุทธเจ้าในพิมพ์พระร่วงนั้งทั้งหลายยังคงทรงราชาภรณ์แบบมหายานอยู่ ก็จะตัดสินได้ว่า วัฒนธรรมแบบมหายานก็ยังมีอิทธิพลอยู่บ้างเท่านั้นในแง่ศิลปะ
นักเลงพระส่วนมากไม่ค่อยจะสนใจในประวัติของพระพิมพ์พระเครื่องที่ตนใช้อยู่ซึ่งเป็นเรื่องประหลาดที่คนเราสามารถอยู่กับสิ่งที่เราไม่รู้จัก ยิ่งเกี่ยวกับหลักปรัชญาของศาสนายิ่งน่าสนใจ แต่มองออกว่านี้คือ พระเมืองลพบุรี สุโขทัย หรือ อยุธยา นี่คือลัทธิหินยาน มหายาน ว่ากันไปได้เป็นเรื่องเป็นราวโดยไม่ขัดเขิน ผมจึงว่าเป็นเรื่องประหลาด อย่างเรื่องมหายานนี้ก็เหมือนกัน ผู้คนระดับหนึ่งรู้จักแต่มหายานสมัยลพบุรี ไม่รู้หรืออาจจะไม่สนใจจะรู้ว่าลัทธิมหายานก่อนจะถึงลพบุรีมีทิศทางที่มาของพุทธมหายานในประเทศไทยไว้บ้างเล็กน้อย เอาไว้ประกอบการพิจารณาพระพิมพ์มหายานที่นิยมกันอยู่ เพื่อป้องกันคำกล่าวหาที่ร้ายแรงมากสำหรับผู้อยู่ในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องที่ อวิชชา
ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีตะวันออกเฉียงใต้ ได้กล่าวเป็นเบาะแส ของที่มาแห่งพุทธมหายาน ในตำนานพระพิมพ์ ข้อที่กล่าวถึง พระพิมพ์สมัยศรีวิชัย ดังนี้
พระพิมพ์ต่างๆ ที่ได้พบเป็นจำนวนมากตามถ้ำทั้งหลายในแหลมมลายู (ปักษ์ใต้ของเราทั้งหมดฝรั่งมังค่าถนัดที่จะเรียกรวมไปเลยว่า แหลมมลายู ซึ่งทำให้นักเขียนอาวุโสท่านหนึ่ง กล่าวหาศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ว่าเป็นจารชนเพราะมีแผนยึดครองประเทศไทยของฝรั่งเศสอะไรทำนองนี้ จริงเท็จอย่างไรไม่ได้สอบ แต่ฝรั่งมังค่าทุกชาติกระมัง เวลากล่าวถึงแหลมมลายูก็หมายความรวมปักษ์ใต้ ไม่มีอคติอื่นๆ ซึ่งได้กล่าวมาแล้ว พระพิมพ์เหล่านี้เป็นดินดิบหรือดินเหนียวสุกมาจากวัดวิหาญ และเขาขาวในจังหวัดตรังบ้าง มาจากเขาอกทะลุและถ้ำคูหาสวรรค์ เมืองพัทลุงบ้าง