สถิติ
เปิดเว็บ | 25/05/2011 |
อัพเดท | 22/04/2017 |
ผู้เข้าชม | 3,824,205 |
เปิดเพจ | 5,129,244 |
สินค้าทั้งหมด | 127 |
บริการ
-
หน้าหลัก
-
รวมพระทุกหมวด
-
พระศึกษาและสะสม
-
พระสมเด็จวัดระฆัง
-
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
-
พระสมเด็จวัดเกศไชโย
-
พระซุ้มกอ
-
พระรอด
-
พระนางพญา
-
พระผงสุพรรณ
-
พระกรุเนื้อดิน-ผง-ว่าน
-
พระกรุเนื้อชิน
-
รายการวัตถุมงคล
-
พระกรุ พระเครื่อง โบราณ
-
วัตถุมงคลรุ่นแรก เก่าหายาก
-
วัตถุมงคล ออกใหม่
-
ตารางกิจนิมนต์
-
กำหนดการณ์ งานพิธีวัดไทรย้อย
-
โครงการต่างๆ ของวัด
-
แกลลอรี่รูปภาพ
-
เว็บบอร์ด
-
ติดต่อเรา
พระทวารวดียืน ปางประทานพร กรุเก่า ลพบุรี เนื้อชินสนิมแดง
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
S-237
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
22/02/2014 10:33
-
ความนิยม
-
รายละเอียดสินค้า
พระทวารวดียืน บางประทานพร กรุเก่า ลพบุรีเนื้อชินสนิมแดง(ลูกหว้า)จากภาพคงไม่ต้องอธิบายอะไรกันมากเพราะนี่คือศิลปะสกุลช่างทวารวดียุคต้นแท้แต่ดั้งเดิมที่ตั้ง: บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
มีการขุดพบโบราณวัตถุจำนวนมากในบริเวณดังกล่าว นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดีจึงได้เรียกศิลปะกลุ่มนี้ว่า "ทวารวดี" โดยการถ่ายทอดจากสำเนียงแบบจีนจากคำว่า "โถ-โล-โป-ตี" (T'o-lo-po-ti) ซึ่งปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุของนักพรตจีน แต่เนื่องจากไม่ได้มีการระบุอย่างแน่ชัดถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรนี้ในสมัยโบราณ นักวิชาการ และนักโบราณคดีจึงได้พยายามที่จะทำการศึกษาจากตำแหน่งที่ตั้งของเมือง ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานดังนี้
1. อาณาจักรทวารวดีเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 - 16 และน่าจะมีราชธานีอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐมปัจจุบัน เนื่องจากมีการขุดพบซากเมืองโบราณขนาดใหญ่ และศิลปะวัตถุในบริเวณดังกล่าว อีกทั้งพบหลักฐานสำคัญที่นำมาใช้สนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้คือ เหรียญเงินที่มีการจารึกอักษรปัลลวะ ซึ่งอ่านได้ว่า " ศรีทวารวตี ศวรปุณย" แปลเป็นไทยได้ว่า บุญกุศลของพระราชาแห่งทวารวดี
2. เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี อาจเคยเป็นราชธานีของอาณาจักรนี้มาก่อนเมืองนครปฐม เนื่องจากมีการขุดพบศิลปะวัตถุแบบนี้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะแผ่นจารึกทองแดงที่กล่าวถึงพระเจ้าหรรษวรมัน จึงได้สันนิษฐานกันว่าน่าจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินของอาณาจักรนี้
3. เชื้อชาติของชาวทวารวดี จากการศึกษาพบว่าภาษาและอักษรจารึกต่างๆ บ่งบอกว่าเป็นภาษามอญโบราณ ที่จารึกด้วยอักษรอินเดียใต้ จึงเชื่อกันว่าอาณาจักรทวารดีน่าจะมีเชื้อชาติมอญ
อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องความเป็นมาของชุมชนทวารดี ทั้งที่ตั้งของอาณาจักร ศูนย์กลาง กลุ่มชนเจ้าของวัฒนธรรม ยังคงมีข้อถกเถียงกันอย่างไม่มีข้อยุติศิลปกรรมของชุมชนทวารวดีอายุ: ราวพุทธศตวรรษที่ 11 - 16
บริเวณ: น่าจะมีจุดเริ่มต้น ณ บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วจึงแพร่ไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย
ในบางครั้งได้มีการนำเอาศิลปะแบบทวารวดีเข้าไปผสมผสานกับศิลปะจากอาณาจักรใกล้เคียง เช่น ขอม และจาม
ศิลปะแบบทวารวดีสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. แสดงศิลปะแบบทวารวดีแท้ ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
2. แสดงศิลปะแบบศรีวิชัย จากภาคใต้ของประเทศไทย ศาสนาพุทธนิการเถรวาท
3. แสดงศิลปะแบบทวารวดี ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หลังจากเกิดการเสื่อมของนิกายมหายานประติมากรรม
ประติมากรมส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา โดยพบทั้งหิน สัมฤทธิ์ ปูนปั้น ดินเผา สามารถแบ่งพระพุทธรูปแบบทวารวดีได้เป็น 3 ระยะดังนี้
ระยะแรก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 - 13 มีเค้าอิทธิพลอินเดียมาผสมผสาน สังเกตได้จาก ไม่มีรัศมีบนพระเกตุมาลา ไม่มีชายจีวรเหนือพระอังสาซ้าย นั่งขัดสมาธิราบหลวมๆ แบบอินเดียอมรวดี
ระยะที่สอง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 16 ลักษณะเป็นศิลปะแบบพื้นเมือง มีลักษณะพระพักตร์แบน พระนลาฏแคบ มีพระอุณาโลมระหว่างคิ้ว พระพุทธรูปแบบประทับยืนมีลักษณะตรง พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปาง วิตรรกะ หรือแสดงธรรม โดยระยะพุทธศาสนานิการมหายานเจริญรุ่งเรืองสูงสุด จึงทำให้มักพบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เป็นจำนวนมากในยุคนี้
ระยะสุดท้าย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 - 18 ผสมผสานอิทธิพลขอมแบบบาปวน มักมีพระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีไรพระศก ชายจีวรยาวลงมาจรดพระนาภี นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปทวารวดีประทับบนหลังพนัสบดี อันเป็นสัตว์ที่มีลักษณะผสมกันระหว่างครุฑ โค และหงษ์ ซึ่งเป็นพาหนะของพระเป็นเจ้าที่สำคัญของศาสนาพราหมณ์Ref:: หนังสือเผยแพร่วัฒนธรรม, ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, พ.ศ. 2530
ภาพจากหนังสือพระเครื่องจักรวาลพระฯ และหนังสือสมบัติของไทย