สถิติ
เปิดเว็บ | 25/05/2011 |
อัพเดท | 22/04/2017 |
ผู้เข้าชม | 3,189,492 |
เปิดเพจ | 4,463,886 |
สินค้าทั้งหมด | 127 |
บริการ
-
หน้าหลัก
-
รวมพระทุกหมวด
-
พระศึกษาและสะสม
-
พระสมเด็จวัดระฆัง
-
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
-
พระสมเด็จวัดเกศไชโย
-
พระซุ้มกอ
-
พระรอด
-
พระนางพญา
-
พระผงสุพรรณ
-
พระกรุเนื้อดิน-ผง-ว่าน
-
พระกรุเนื้อชิน
-
รายการวัตถุมงคล
-
พระกรุ พระเครื่อง โบราณ
-
วัตถุมงคลรุ่นแรก เก่าหายาก
-
วัตถุมงคล ออกใหม่
-
ตารางกิจนิมนต์
-
กำหนดการณ์ งานพิธีวัดไทรย้อย
-
โครงการต่างๆ ของวัด
-
แกลลอรี่รูปภาพ
-
เว็บบอร์ด
-
ติดต่อเรา
พระขุนแผนเคลือบ พิมพ์แขนอ่อน กรุวัดใหญ่ชัยมงคล
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
S-040
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
22/02/2014 10:28
-
ความนิยม
-
รายละเอียดสินค้า
พระขุนแผนเคลือบเหลือง พิมพ์แขนอ่อน กรุวัดใหญ่ชัยมงคล-
- คราบขี้กรุเดิม สวยสมบูรณ์
“พระขุนแผนเคลือบ” กรุพระมหาเจดีย์วัดป่าแก้ว หรือวัดใหญ่ชัยมงคล เป็นพระพิมพ์ที่มีพุทธศิลปะโดดเด่น เนื้อดินละเอียดสีขาวนวล และเคลือบผิวด้วยน้ำยา เคลือบสีเหลืองทองหรืออมเขียวเหมือนเคลือบโอ่งมังกรสมัยก่อน เพื่อรักษาเนื้อพระแทนการลงรักปิดทองอย่างทั่วๆ ไป
พระขุนแผนเคลือบนี้ ขุดพบที่กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยาเท่านั้น ส่วนพระขุนแผนที่ขุดพบที่วัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี , อ.นครชัยศรี นครปฐม , สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นั้น จะเป็นเนื้อดินเผาล้วนๆ และค่อนข้างหยาบ คล้ายกระเบื้องมุงหลังคาโบสถ์ และไม่มีน้ำยาเคลือบแต่อย่างใดพุทธลักษณะของ “พระขุนแผนเคลือบ” นั้น เป็นองค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย มีซุ้มเรือนแก้วเป็นปริมณฑล ตัดกรอบตามรูปทรงเป็น 5 เหลี่ยม มี 2 พิมพ์ คือ พระขุนแผนเคลือบ พิมพ์อกใหญ่ และ พระขุนแผนเคลือบ พิมพ์อกเล็ก หรือ พิมพ์แขนอ่อน หรือพิมพ์เข่าใน เนื่องจากหัวเข่าจะอยู่ด้านในของพระหัตถ์ข้างขวาขององค์พระ ซึ่งเป็นพุทธศิลปะสมัยอยุธยาบริสุทธิ์
จุดตำหนิ ในการพิจารณาพิมพ์ด้านหน้าของ "พระขุนแผนเคลือบ" ทั้งสองพิมพ์ คือ
พิมพ์ทรงของพระขุนแผนเคลือบนั้น ต้องดูอ่อนช้อย เป็นธรรมชาติ มิติความตื้นลึกต้องได้
และสีผิวของน้ำเคลือบต้องซีดจางแห้งตามกาลเวลา ซึ่งมีอายุหลายร้อยปี
สีน้ำเคลือบจะต้องไม่ใสสดใหม่ รอยแตกลาน ของน้ำยาเคลือบ ต้องไม่แตกอย่าง
ถ้วยชามดินเผาสมัยใหม่ รวมไปถึงคราบขี้กรุบนผิวหน้าพระ ต้องเก่าถึงยุค
ไม่ควรเป็นคราบปูนที่ดูสดใหม่เช่นกัน อย่างน้อยต้องมีปฎิกิริยาของออกไซด์จาก
สภาพแวดล้อมไม่ว่าจะอยู่ในกรุหรือในไห เกิดบนผิวพระให้เห็น
จุดตำหนิ ในการพิจารณา ด้านหลังของ “พระขุนแผนเคลือบ” ทั้งสองพิมพ์จะเหมือนกันคือ
จะปรากฏเป็นนิ้วมือกดนวดในพิมพ์ ทั้งยังผิวพรรณ วรรณะองค์พระจะมีรอยหดเหี่ยว
อยู่โดยทั่วไป เนื้อพระจะไม่ขาวสดใหม่เช่นปูนพลาสเตอร์ น้ำเคลือบจะไม่เต็มแผ่นหลัง
และน้ำยาเคลือบตามขอบหลัง จะเป็นรอยแตกเหมือนรอยลาน ส่วนน้ำเคลือบช่วงล่างของ
องค์พระจะหนากว่าช่วงบนและมีสีเหมือนขี้ครั่ง