สถิติ
เปิดเว็บ | 25/05/2011 |
อัพเดท | 22/04/2017 |
ผู้เข้าชม | 3,189,477 |
เปิดเพจ | 4,463,865 |
สินค้าทั้งหมด | 127 |
บริการ
-
หน้าหลัก
-
รวมพระทุกหมวด
-
พระศึกษาและสะสม
-
พระสมเด็จวัดระฆัง
-
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
-
พระสมเด็จวัดเกศไชโย
-
พระซุ้มกอ
-
พระรอด
-
พระนางพญา
-
พระผงสุพรรณ
-
พระกรุเนื้อดิน-ผง-ว่าน
-
พระกรุเนื้อชิน
-
รายการวัตถุมงคล
-
พระกรุ พระเครื่อง โบราณ
-
วัตถุมงคลรุ่นแรก เก่าหายาก
-
วัตถุมงคล ออกใหม่
-
ตารางกิจนิมนต์
-
กำหนดการณ์ งานพิธีวัดไทรย้อย
-
โครงการต่างๆ ของวัด
-
แกลลอรี่รูปภาพ
-
เว็บบอร์ด
-
ติดต่อเรา
พระท่ากระดาน กรุเก่าศรีสวัสดิ์ เนื้อตะกั่วสนิมแดง
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
S-230
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
22/02/2014 10:34
-
ความนิยม
-
รายละเอียดสินค้า
พระท่ากระดาน - กรุเก่าศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี เนื้อตะกั่วสนิมแดง
พระเบญจภาคียอดขุนพลเนื้อชินมีด้วยกัน ๕ องค์ ได้แก่พระร่วงยืนหลังรางปืน
กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุโขทัย (ถือเป็นจักรพรรดิของพระเนื้อชิน),
พระหูยาน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี
พระชินราชใบเสมา กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
พระท่ากระดาน กรุเก่าศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี
และพระมเหศวร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี
******************
ตามประวัติ พระท่ากระดานแตกกรุมาตั้งแต่ปี ๒๔๖๐ แต่เริ่มเดิมทีไม่ได้เรียกว่า
“พระท่ากระดาน” แต่เรียกตามลักษณะพระที่พบว่า “พระเกศบิดตาแดง”
กล่าวคือ มีพระเกศ (ผม) ที่บิดโค้ง และพระเนตร (ตา) สีแดง (คงเนื่องมาจากสีแดง
อันเป็นสนิมของพระเนื้อชินตะกั่ว) ต่อมามีการพบพระจำนวนมากที่วัดท่ากระดาน
หรือวัดกลาง จึงทำให้มีชื่อเรียกขานกันว่า “พระท่ากระดาน” อนึ่ง จากหนังสือรวม
เรื่องเมืองกาญจนบุรีที่จังหวัดกาญจนบุรีจัดทำได้กล่าวถึงที่มาของพระท่ากระดานว่า
“เมื่อก่อน ร.ศ. ๑๑๔ เมืองท่ากระดานมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน แต่ปัจจุบันถูกยุบลงมา
เป็นตำบลท่ากระดาน อยู่ในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ ประวัติความเป็นมาของเมืองเก่านี้เก่า
แก่มากจนสืบไม่ได้ ..... ที่เมืองท่ากระดานซึ่งเป็นเมืองร้างนั้น มีวัดเก่าแก่ยังปรากฏ
ซากปรักหักพังอยู่ ๓ วัด เรียกกันว่า วัดเหนือ วัดกลาง และวัดใต้ ในบริเวณโบสถ์ร้าง
ดังกล่าว มีผู้ไปขุดค้นหาของเก่ากัน ส่วนมากจะพบพระพุทธรูปทำด้วยตะกั่วชิน
โบราณ ซึ่งเรียกกันว่า “พระท่ากระดาน” โดยเรียกตามสถานที่ที่ขุดค้นพบ....”
พระท่ากระดานที่พบในหลายพื้นในอำเภอศรีสวัสดิ์นั้น มีอยู่กรุหนึ่งเรียกว่า
“กรุลั่นทม” ปรากฏว่าที่กรุนี้พบพระท่ากระดานพร้อมแม่พิมพ์พระท่ากระดานและยัง
พบเศษตะกั่วที่เกิดสนิมแดงด้วย จึงมีข้อสันนิษฐานกันว่าที่บริเวณกรุแห่งนี้น่าจะเป็น
สถานที่สร้างพระท่ากระดาน ส่วนผู้ที่เป็นผู้สร้างพระนั้น จากการศึกษาประวัติความ
เป็นมา สันนิษฐานว่าผู้สร้างน่าจะได้แก่ “ฤาษีตาไฟ” ซึ่งเป็น ๑ ใน ๔ พระฤาษีผู้ใหญ่
ในพระฤาษีทั้ง ๑๑ ตน ที่มาร่วมกันสร้างพระผงสุพรรณและพระกำแพงทุ่งเศรษฐี
นอกจากพบพระท่ากระดานในพื้นที่อำเภอศรีสวัสดิ์แล้ว พระท่ากระดานยังพบอีกใน
หลายพื้นที่เรื่อยมา แต่โดยรวมแล้วพระท่ากระดานถูกจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
“พระกรุเก่า” และ “พระกรุใหม่” โดยมีผู้แยกว่าพระกรุเก่า คือ พระที่พบในช่วงปี
๒๔๙๕ – ๒๔๙๗ ที่กรุวัดลั่นทม วัดบน (วัดเหนือ) วัดกลาง (วัดท่ากระดาน) วัดล่าง
(วัดใต้) และวัดหนองบัว และเหตุที่กรุทั้ง ๔ แห่งนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของอำเภอศรีสวัสดิ์
บางท่านจึงเรียกชื่อพระกรุเก่าอีกอย่างหนึ่งว่า “พระกรุเก่าศรีสวัสดิ์” ส่วนพระกรุใหม่
คือพระที่พบในช่วงหลังจากนั้นมา