สถิติ
เปิดเว็บ | 25/05/2011 |
อัพเดท | 22/04/2017 |
ผู้เข้าชม | 3,824,193 |
เปิดเพจ | 5,129,232 |
สินค้าทั้งหมด | 127 |
บริการ
-
หน้าหลัก
-
รวมพระทุกหมวด
-
พระศึกษาและสะสม
-
พระสมเด็จวัดระฆัง
-
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
-
พระสมเด็จวัดเกศไชโย
-
พระซุ้มกอ
-
พระรอด
-
พระนางพญา
-
พระผงสุพรรณ
-
พระกรุเนื้อดิน-ผง-ว่าน
-
พระกรุเนื้อชิน
-
รายการวัตถุมงคล
-
พระกรุ พระเครื่อง โบราณ
-
วัตถุมงคลรุ่นแรก เก่าหายาก
-
วัตถุมงคล ออกใหม่
-
ตารางกิจนิมนต์
-
กำหนดการณ์ งานพิธีวัดไทรย้อย
-
โครงการต่างๆ ของวัด
-
แกลลอรี่รูปภาพ
-
เว็บบอร์ด
-
ติดต่อเรา
พระบูชา ยุคสุโขทัย (บริสุทธิ์)
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
SS-001
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
26/06/2011 00:00
-
ความนิยม
-
รายละเอียดสินค้า
พระบูชา ยุคสุโขทัย (บริสุทธิ์) - หน้าตักราวๆ 10 นิ้ว เนื้อสัมฤทธิ์ ฐานเขียง 3 ขา
**************************************************************
การดูดินใต้ฐานของพระบูชาสมัยสุโขทัยต้นๆยุค
รูปแรกสีของดินจะต้อง ดูเข้มแห้ง ไม่ออกสีจืดๆเหมือนอิฐเผ่าใหม่ดินชั้นใน และดินชั้นนอก เมื่อผ่านระยะเวลาหลายร้อยปี ความชื้นทำให้เกิด สนิมจากโลหะ สนิมดังกล่าวจะค่อยๆซึมผ่านมายังเนื้อดิน ดินชั้นนอกจะดูเข้มกว่าดินชั้นใน
จากรูปจะเห็นได้ชัด อายุไม่ถึงไม่สามารถทำได้เช่นนี้แน่ๆประติมากรรมไทยส่วนใหญ่ มีจุดประสงค์ในการสร้างขึ้น ด้วยศรัทธาอันแน่นแฟ้นในพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้จาก พระพุทธรูป ในสมัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปั้น หล่อ หรือแกะสลัก อีกส่วนหนึ่งสำหรับใช้เป็นเครื่องประกอบ ตกแต่งปราสาทราชวังและเครื่องใช้ต่างๆ สำหรับพระมหากษัตริย์
ประติมากรรมไทยแบ่งได้เป็นสาม ลักษณะใหญ่ๆ คือ
2.1 ลักษณะนูนต่ำ (Bas Relief) คือผลงานที่มองได้ด้านเดียว แสดงความตื้นลึกของภาพ โดยมีความสูงต่ำ เพียงเล็กน้อย เช่น ลวดลายปูนปั้นบนสถูป และลายแกะสลักต่างๆ เป็นต้น
2.2 ลักษณะนูนสูง (High Relief) สามารถมองเห็นได้ 3 ด้าน คือด้านหน้า และด้านข้างอีก ๒ ด้าน โดยมีความตื้นลึกที่แตกต่างกันมาก จนเห็นได้ชัดเจน เช่น ลายปูนปั้นบนหน้าบัน
2.3 ลักษณะลอยตัว (Round Relief) สามารถมองเห็นได้รอบด้าน เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ต่างๆ รวมถึงเครื่องปั้นดินเผาด้วย
ประติมากรรมสมัยสุโขทัย เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800-1918 เมืองสำคัญทางศิลปสมัยสุโขทัยมีเมืองสุโขทัย เก่า กำแพงเพชร และศรีสัชนาลัยปรากฏโบราณสถานใหญ่โต มีศิลปวัตถุเป็นจำนวนมาก ชาวสุโขทัยนับถือพุทธศาสนายุคแรกตามแบบสมัยลพบุรี คือ พุทธศาสนาแบบมหายาน ภายหลังพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์แพร่ขยายเข้ามาในสมัยพ่อขุนรามคำแหง วัสดุที่นำมาสร้างประติมากรรมมี ปูนเพชร ดินเผา ไม้ โลหะสำริด และทองคำ
แบบอย่างของประติมากรรมสมัยสุโขทัยแบ่งเป็น 4 ยุค คือ
ยุคที่ 1 ประติมากรรมยุคนี้ยังแสดงอิทธิพลของศิลปะลพบุรีที่เห็นได้ชัด คือ ภาพปูนปั้นลวดลายประดับประตูรั้วทางเข้าองค์ปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ การสร้างพระพุทธรูปในยุคนี้มีแบบเฉพาะเป็นของตนเองที่เรียกกันว่า "แบบวัดตระกวน" เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ลังกา และสุโขทัย ผสมผสานกัน พระพักตร์กลม พระรัศมีเป็นแบบลังกา พระวรกายและชายสังฆาฏิสั้นแบบเชียงแสน
ยุคที่ 2 ในยุคนี้ฝีมือการสร้างประติมากรรมของช่างไทยเชี่ยวชาญขึ้น พัฒนารูปแบบการสร้างพระพุทธรูปจนก่อเกิดรูปพุทธลักษณะอันงดงามของสกุลช่างสุโขทัยเอง ยังเป็นศิลปะสุโขทัยแบบบริสุทธิ์ ในยุคนี้มีการสร้างพระพุทธรูปไว้มากมายตั้งแต่พระพุทธรูปขนาดใหญ่ เช่น พระอัฏฐารส พระอัจนะ จนถึงพระบูชาขนาดเล็ก และพระพิมพ์ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปนูนต่ำนูนสูงประดับภายในซุ้มมณฑปหรือพระเจดีย์เป็นจำนวนมาก สมดังศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า "กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารส มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม " พระพุทธรูปสุโขทัยไม่นิยมสลักหิน แม้จะเป็นพระพุทธรูปขนาดสลักหิน นิยมปั้นด้วยปูนหรือหล่อด้วยโลหะมีค่าต่างๆ รวมทั้งทองคำบริสุทธิ์ ลักษณะพระพุทธรูปสุโขทัยยุคนี้ คือ พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระเศียรสมส่วนกับพระศอและพระอังสา หมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระอุระผายสง่า พระอังสาใหญ่กว้าง พระถันโปน ปั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรยาวจรดมาถึงพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ พระกรเรียวดุจงาช้าง นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาททำแบบธรรามชาติ ดุจมีชีวิต ฐานเป็นหน้ากระดานเกลี้ยง ปางที่นิยมคือ ปางมารวิชัย และปางลีลา องค์พระพุทธรูปปางลีลาที่งดงามปัจจุบันประดิษฐานที่ระเบียงคด วัดเบญจมบพิตร
ยุคที่ 3 การปั้นพระพุทธรูปยุคนี้พัฒนาไปจากศิลปะสุโขทัยแบบบริสุทธิ์ มีความประณีต มีระเบียบและกฎเกณฑ์มากขึ้น พระรัศมีเป็นเปลวมีขนาดใหญ่ขึ้น พระพักตร์รูปไข่สั้น พระอุณาโลมเป็นตัวอุหงายระหว่างหัวพระขนง พระวรกายมีความอ่อนไหวน้อยลง พระอาการสงบเสงี่ยมแลดูนิ่งสงบขึ้น พระกรยาว นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่เสมอกัน ฝ่าพระบาทเรียบสั้น พระบาทยาว พระพุทธรูปที่สำคัญๆ ในยุคนี้ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระศรีศากยมุนี เป็นต้น
ยุคที่ 4 เป็นยุคที่ประติมากรรมสมัยสุโขทัยถูกกลืนไปกับอิทธิพลของศิลปสมัยอยุธยาเมื่อราชวงศ์พระร่วงสิ้นสุดลงในพ.ศ. 1981 นับเป็นยุคสุโขทัยเสื่อม แม้มีการสร้างศิลปะในชั้นหลังก็เป็นสกุลศิลปะเล็กๆ พระพุทธรูปมีลักษณะกระด้างขึ้นทั้งอิริยาบท และทรวดทรง มักสร้างพระพุทธรูปยืน พระสำคัญในยุคนี้เช่น พระอัฎฐารส วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแบ่งแบบอย่างพระพุทธรูปซึ่งสร้างในสมัยสุโขทัยเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง มักทำดวงพระพักตร์กลมตามแบบพระพุทธรูปลังกา เช่น พระอัฏฐารสในวิหารวัดสระเกศ กลุ่มที่สอง เมื่อฝีมือช่างเชี่ยวชาญขึ้นคิดแบบใหม่ ทำดวงพระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม เช่นพระร่วงโรจนฤทธิ์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเชิญไปไว้ที่พระปฐมเจดีย์ และพระสุรภีพุทธพิมพ์ที่เป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถวัดปรินายก พระพุทธรูปที่สร้างแบบนี้มีมากกว่ากลุ่มแรก กลุ่มที่สามสันนิษฐานว่าเห็นจะเป็นในรัชกาลพระมหาธรรมราชาพญาลิไทย ซึ่งในตำนานกล่าวว่า ทรงเป็นพระราชธุระบำรุงกิจในพระศาสนายิ่งกว่าในรัชกาลก่อนๆ โปรดให้เสาะหาช่างที่มีฝีมือดีทั้งในอาณาเขตลานนาและอาณาเขตข้างฝ่ายใต้มาประชุมปรึกษากัน และทรงสอบสวนหาหลักฐานพุทธลักษณะในคัมภีร์พระไตรปิฎกประกอบ จึงเกิดแบบพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยขึ้นอีกอย่างหนึ่ง เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ดวงพระพักตร์เป็นทำนองผลมะตูมคล้ายแบบอินเดียเดิมแต่งามยิ่งนัก และแก้พุทธลักษณะแห่งอื่น เช่น ทำปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกันทั้งสี่นิ้ว เป็นต้น แบบพระพุทธรูปเช่นนี้ทำกันแพร่หลายขึ้นไปจนถึงเมืองเหนือ และลงมาข้างใต้ แต่ที่ทำได้งามเหมือนองค์พระพุทธรูปที่เป็นต้นตำรามีน้อย
พระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ทำในสมัยสุโขทัย ดูเหมือนจะไม่มีทำพระปางอย่างอินเดีย มีปางพุทธอิริยาบท คือ พระนั่ง พระนอน พระยืน พระเดิน พระนั่งทำปางมารวิชัยกับสมาธิ นั่งขัดสมาธิราบทั้งสองอย่าง พระนอนไม่ถือว่าเป็นปางนิพพานอย่างอินเดีย พระยืนมีแต่ปางประทานอภัย ยกพระหัตถ์ข้างเดียวบ้างสองข้างบ้าง สมมุติเรียกกันว่า ปางห้ามสมุทรและปางห้ามญาติ พระเดินไม่ถือว่าเป็นปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ไม่ทำปางพระกรีดนิ้วพระหัตถ์แสดงเทศนา พระพุทธรูปแบบสุโขทัยทำชายจีวรยาว พระรัศมีเป็นเปลว พระแบบที่สร้างสอลกลุ่มแรกนิ้วพระหัตถ์ไม่เท่ากันทั้งสี่นิ้ว แบบบัวรองพระพุทธรูปเป็นอย่างสุโขทัยไม่เหมือนกับบัวเชียงแสน จากหลักฐานที่พบในเมืองสวรรคโลก สุโขทัย และกำแพงเพชร ชั้นเดิมสร้างเป็นพระก่อแล้วปั้นประกอบเป็นพื้น มาถึงชั้นกลางและชั้นหลังจึงชอบสร้างพระหล่อ ข้อนี้มีที่สังเกตตามวัดในเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย นอกจากนี้ที่เป็นวัดสำคัญ พระประธานที่เป็นพระปั้นยังอยู่โดยมาก แต่วัดสำคัญในเมืองพิษณุโลก สุโขทัย และกำแพงเพชร มักไม่มีพระประธานเหลืออยู่ ด้วยเป็นพระหล่อเชิญมาไว้ที่กรุงเทพ ฯ ในสมัยรัตนโกสินทร์โดยมาก เช่น พระศรีศากยมุนีที่พระวิหารวัดสุทัศน์ พระพุทธชินสีห์ที่วัดบวรนิเวศ และพระอัฏฐารส ที่วิหารวัดสระเกศ เป็นต้น พระพิมพ์ก็ชอบสร้างในสมัยสุโขทัยเหมือนสมัยอื่น แต่แปลงมาเป็นพระพุทธรูปตามคติหินยาน ทำต่างพุทธอิริยาบท มักชอบทำพระลีลา เรียกกันสามัญว่า "พระเขย่ง" อีกอย่างหนึ่งก็ทำเป็นพระนั่ง แต่หลาย ๆ สิบองค์ในแผ่นพิมพ์อันหนึ่ง
ในพ.ศ. 2494 หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์และนาย A.B. Griswold ได้แบ่งหมวดหมู่พระพุทธรูปสุโขทัยออกเป็น 5 หมวด คือ
1. หมวดใหญ่ตรงกับหมวดชั้นกลางที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ จัดเป็นแบบที่งามที่สุด
2. หมวดกำแพงเพชร ลักษณะเหมือนหมวดใหญ่ พระพักตร์สอบจากตอนบนลงมาหาตอนล่างมาก พบสร้างมากที่กำแพงเพชร
3. หมวดพระพุทธชินราช ตรงกับหมวดที่สามที่ทรงกล่าว
4. หมวดพิษณุโลกชั้นหลัง ลักษณะทรวดทรงยาว แบบจืดและแข็งกระด้าง จีวรแข็ง มักทำพระยืน เป็นพระพุทธรูปสุโขทัยชั้นหลัง เมื่อตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาแล้ว
5. หมวดเบ็ดเตล็ด หมายถึงพระพุทธรูปแบบสุโขทัยซึ่งเข้ากับ 4 หมวดข้างต้นไม่ได้ รวมทั้งแบบวัดตระกวนซึ่งมีลักษณะเป็นพระเชียงแสน ลังกา และสุโขทัย ผสมกัน แบบวัดตระกวนนี้อาจจัดเข้าอยู่ในหมวดชั้นแรกซึ่งมีวงพระพักตร์กลม
ต่อมานายกริสโวลด์ ได้แบ่งพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยออกเป็นเพียง 3 หมวดคือ
1. Pre-classic ซึ่งตรงกับหมวดที่ 1 ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
2. High-classic ซึ่งตรงกับหมวดที่สองของสมเด็จ ฯ
3. Post-classic ซึ่งตรงกับหมวดที่สามของสมเด็จ ฯ ในหมวดที่สามนี้นายกริสโวลด์ได้พบพระพุทธรูป 5 องค์ ซึ่งมีจารึกบอกศักราชที่หล่อขึ้น องค์หนึ่งอยู่ที่วัดหงส์รัตนาราม ธนบุรี หล่อขึ้นในพ.ศ. 1963 หรือ 1966 อีก 4 องค์อยู่ที่จังหวัดน่านหล่อขึ้นเมื่อพ.ศ. 1970
นอกจากการสร้างพระพุทธรูปแล้วสมัยสุโขทัยยังนิยมทำภาพปูนปั้นเพื่อประกอบงานสถาปัตยกรรมและงานอื่นๆ จำนวนมาก โดยทำขึ้นหลายรูปแบบทั้งสวยงาม แปลกประหลาดและตลกขบขัน ตัวอย่างลวดลายปูนปั้นที่งดงามมีอยู่มากมาย เช่น
ลายปูนปั้นที่วัดมหาธาตุ อำเภอเมืองสุโขทัย เป็นเรื่องพุทธประวัติแสดงปางประสูติ ปรินิพพาน
ลายปูนปั้นที่วัดนางพญา อำเภอศรีสัชนาลัย เป็นลายดอกไม้
ลายปูนปั้นที่วัดช้างล้อม อำเภอศรีสัชนาลัย ปั้นเป็นรูปช้างรายรอบฐานพระเจดีย์
ลายปูนปั้นที่วัดตระพังทองหลาง เป็นเรื่องพุทธประวัติแสดงปางเสด็จจากดาวดึงส์ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก http://www.info.ru.ac.th/province/sukhotai/mainreference.htm
และ เว็ปไซด์ พลังจิต